วิธีถอนเงินออกจากบัญชี FBS มีมากมายหลากหลายวิธีแต่วิธีที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ ผมคิดว่าเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยระดับหนึ่งเลยครับ และผมต้องขอชี้แจงก่อนนะครับว่าผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ThaiExchanger นะครับ แต่ผมเห็นว่าวิธีถอนเงินออกจากบัญชี FBS ด้วย ThaiExchanger เป็นวิธีที่ง่ายและค่อนข้างปลอดภัยผมจึงอยากแนะนำวิธีนี้
วิธีถอนเงินค่อนข้างยุ้งยากนะครับ เพราะทาง FBS ต้องการความปลอดภัยให้แก่บัญชีของคุณ
1. เข้าสู่เว็บไซต์ FBS คลิกที่นี่
สำหรับท่านที่สมัคร FBS ผ่านลิงค์หรือรูปภาพในเว็บของเรา อาจจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆมากมาย
2. ทำตามรูปภาพข้างล่างนี้
3. คลิกที่รูปภาพ THAIEXCHANGER.com
4. กรอกข้อมูลตามรูปภาพ
5. ตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าทุกอย่างถูกต้องแล้วให้กด "Get password" แล้วหลังจากนั้น FBS จะส่งรหัสถอนเงินไปทางอีเมลล์ของเรา ให้เราไป Copy รหัสนั้น
6. Copy รหัสที่ FBS ส่งมาทางอีเมลล์
7. ทำตามรูปภาพข้างล่างนี้
8. กรอกแบบฟอร์มของ THAIEXCHENGER
คลิกที่นี่ เพื่อกรอกแบบฟอร์ม
9. เมื่อทำรายการเสร็จและถูกต้อง ในส่วนตรงนี้ Status ต้องเป็น Confirmed
หลักการย่อความ กับการเล่าหุ้น
หลักการย่อความ กับการเล่าหุ้น
หุ้นจะถูกจะแพงอยู่ที่การเล่าเรื่อง สินค้าที่ไม่มีเรื่องราวราคาจะถูก สินค้าเดียวกัน เรื่องเดียวกัน แต่พลิกกระบวนการเล่าเรื่อง มูลค่าจะเพิ่ม หุ้นก็เหมือนกันถ้าผู้บริหารเล่า story ดีๆ นังลงทุนเชื่อหุ้นก็ขึ้น แต่นักลงทุนหลายท่านเวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวอ่านข้อมูลเยอะแต่สรุปประเด็นลงทุนไม่ได้ บางคนก็ฟุ้งหลุดประเด็นสำคัญไปก็มี ความรู้เรื่องการย่อความช่วยท่านได้สรุปเนื้อหายาวๆเหลือเพียง 4 ย่อหน้าได้มันเยี่ยมจริง
หลัการย่อความ
ถ้าย่อความเป็น จะเขียนหนังสือได้ดี อยู่ในกรอบ ไม่เพี้ยนออกนอกลู่นอกทาง คุณธนง ขันทอง ได้เขียนเรื่องการย่อความใน thanong fanclub เรื่อง จดหมายของLarry Summersเป็นแบบอย่างของการเขียนที่เป็นเลิศไว้ว่า
คนไทยเขียนหนังสือไม่เป็นกันโดยมาก เพราะไม่รู้โครงสร้างการเขียน และการดำเนินเรื่องของความคิด เนื้อหา หรือจุดประสงค์ นับจากความคิดริเริ่ม หรือประเด็นหรือข่าวที่จะสื่อ ไปจนจบกระบวนการของการเขียน
ลองอ่านจดหมายของSummers อีกครั้ง ถึงแม้ว่าเขาเป็นคนไม่ดี เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาของระบบการเงินสหรัฐฯ แต่เราต้องเรียนรู้การเขียนที่เป็นเลิศของเขา
Dear Mr. President,
I am writing to withdraw my name for consideration to be Chairman of the Federal Reserve.
It has been a privilege to work with you since the beginning of your Administration as you led the nation through a severe recession into a sustained economic recovery built on policies to promote employment and strengthen the middle class.
This is a complex moment in our national life. I have reluctantly concluded that any possible confirmation process for me would be acrimonious and would not serve the interests of the Federal Reserve, the Administration, or ultimately, the interests of the nation’s ongoing economic recovery.
I look forward to continuing to support your efforts to strengthen our national economy by creating a broad based prosperity and to reform our financial system so that no President ever again faces what you and your economic team faced upon taking office in 2009.
Sincerely yours,
Lawrence Summers
คุณธนงกล่าวว่างานเขียนทุกงานเขียน รวมทั้งบาทความ จดหมาย หรือหนังสือต้องประกอบด้วย
- เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ
- พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว
- ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่
- บทสรุปที่แลไปข้างหน้า
จากหลักนี้ เราสามารถย่อหนังสือยาวๆ เป็นพันหน้าเหลือแค่4 ย่อหน้าสั้นๆ ตามโครงสร้างที่ให้ไว้ข้างบน มันเยี่ยมจริง
คนไทยเขียนหนังสือไม่เป็นกันโดยมาก เพราะไม่รู้โครงสร้างการเขียน และการดำเนินเรื่องของความคิด เนื้อหา หรือจุดประสงค์ นับจากความคิดริเริ่ม หรือประเด็นหรือข่าวที่จะสื่อ ไปจนจบกระบวนการของการเขียน
ลองอ่านจดหมายของSummers อีกครั้ง ถึงแม้ว่าเขาเป็นคนไม่ดี เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาของระบบการเงินสหรัฐฯ แต่เราต้องเรียนรู้การเขียนที่เป็นเลิศของเขา
Dear Mr. President,
I am writing to withdraw my name for consideration to be Chairman of the Federal Reserve.
It has been a privilege to work with you since the beginning of your Administration as you led the nation through a severe recession into a sustained economic recovery built on policies to promote employment and strengthen the middle class.
This is a complex moment in our national life. I have reluctantly concluded that any possible confirmation process for me would be acrimonious and would not serve the interests of the Federal Reserve, the Administration, or ultimately, the interests of the nation’s ongoing economic recovery.
I look forward to continuing to support your efforts to strengthen our national economy by creating a broad based prosperity and to reform our financial system so that no President ever again faces what you and your economic team faced upon taking office in 2009.
Sincerely yours,
Lawrence Summers
คุณธนงกล่าวว่างานเขียนทุกงานเขียน รวมทั้งบาทความ จดหมาย หรือหนังสือต้องประกอบด้วย
- เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ
- พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว
- ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่
- บทสรุปที่แลไปข้างหน้า
จากหลักนี้ เราสามารถย่อหนังสือยาวๆ เป็นพันหน้าเหลือแค่4 ย่อหน้าสั้นๆ ตามโครงสร้างที่ให้ไว้ข้างบน มันเยี่ยมจริง
การประยุกต์กับการลงทุน
ในการวิเคราะห์หุ้นมี 3 เรื่องที่ต้องวิเคราะห์คือพื้นฐานของกิจการ ตัวเร่ง และมูลค่า ยกตัวอย่างหุ้น AKR ลองดูแบบสั้นสุดตรีน
- เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ : AKR ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสดใส และผู้บริหารกำลังเร่งจบปัญหาเรื่องหนี้สินบริษัทย่อยซึ่งจะเป็นตัวปลดล็อกให้ตลาดเห็นคุณค่าของหุ้น
- พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว : AKR จากธุรกิจหม้อแปลงมาระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซล แต่รัฐบาลไม่สนันสนุนผู้ผลิตในประเทศทำให้แข่งขันกับแผงจากจีนไม่ได้ และลูกค้ายุโรปที่คิดว่าจะขายตอนแรกก็ไม่ตามนัด ผลคือมีโรงงานร้างพร้อมหนี้สิน 1300 ล้าน
- ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ธุรกิจหม้อแปลงก็ยังโตเรื่อยๆตามอุตสหกรรม ส่วนเรื่องบริษัทย่อยที่เห็นตัวถ่วง ต้นปี 55 AKR ได้เริ่มแก้ไขปัญหาโดยไปปรับโครงสร้างหนี้กับ TMB จนเหลือหนี้ต้องจ่ายจริงเพียง 800 ล้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องขายโรงงานหาเงิน 300 ล้าน มาโป๊ะในต้นปี 57 และ 500 ล้านทยอยจ่าย 7 ปี
- บทสรุปที่แลไปข้างหน้า ในปีนี้หม้อแปลงคงไม่ใช่ปัญหานักลงทุนต้องลุ้นว่าปัญหาจะจบอย่างไร จะเงินมา300 ล้านมาทันในปี 57 หรือไม่ซึ่งก็มีหลายแนวทาง
-- เพิ่มทุน
-- refinance แบงค์อื่นมาโป๊ะ
-- ขายสินทรัพย์
เชิญลุ้นกันตามอัธยาศัยว่าจะออกช่องใหน
- เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ : AKR ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสดใส และผู้บริหารกำลังเร่งจบปัญหาเรื่องหนี้สินบริษัทย่อยซึ่งจะเป็นตัวปลดล็อกให้ตลาดเห็นคุณค่าของหุ้น
- พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว : AKR จากธุรกิจหม้อแปลงมาระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซล แต่รัฐบาลไม่สนันสนุนผู้ผลิตในประเทศทำให้แข่งขันกับแผงจากจีนไม่ได้ และลูกค้ายุโรปที่คิดว่าจะขายตอนแรกก็ไม่ตามนัด ผลคือมีโรงงานร้างพร้อมหนี้สิน 1300 ล้าน
- ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ธุรกิจหม้อแปลงก็ยังโตเรื่อยๆตามอุตสหกรรม ส่วนเรื่องบริษัทย่อยที่เห็นตัวถ่วง ต้นปี 55 AKR ได้เริ่มแก้ไขปัญหาโดยไปปรับโครงสร้างหนี้กับ TMB จนเหลือหนี้ต้องจ่ายจริงเพียง 800 ล้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องขายโรงงานหาเงิน 300 ล้าน มาโป๊ะในต้นปี 57 และ 500 ล้านทยอยจ่าย 7 ปี
- บทสรุปที่แลไปข้างหน้า ในปีนี้หม้อแปลงคงไม่ใช่ปัญหานักลงทุนต้องลุ้นว่าปัญหาจะจบอย่างไร จะเงินมา300 ล้านมาทันในปี 57 หรือไม่ซึ่งก็มีหลายแนวทาง
-- เพิ่มทุน
-- refinance แบงค์อื่นมาโป๊ะ
-- ขายสินทรัพย์
เชิญลุ้นกันตามอัธยาศัยว่าจะออกช่องใหน
คุณควรจะลาออกจากงานประจำมาเล่นหุ้นอย่างเดียวหรือไม่?
ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ผมบังเอิญได้ผ่านไปอ่านกระทู้สุดฮอตที่ว่า “สามีจะลาออกจากงานประจำมาเล่นหุ้นค่ะ จะทำยังไงให้เขาเปลี่ยนความคิดดีคะ?” จากทางเว็บไซท์ pantip.com มาครับ
แน่นอนว่าคอมเมนท์ต่างๆในกระทู้นั้นก็มีหลายแง่มุมที่ดีแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมสังเกตได้ก็คือความเห็นส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นแง่คิดที่ออกมาจากประสบการณ์และความรู้สึกกันเสียมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนมือใหม่ที่ไฟกำลังแรงไม่เห็นภาพได้ชัดเจนสักเท่าไหร่นัก ในบทความนี้ผมจึงอยากจะเขียนถึงแง่คิดบางอย่างที่ผมคิดว่ามีความสำคัญ และสามารถแสดงให้เห็นได้ในเชิง “ตัวเลข” ก่อนที่พวกเราหลายๆคนจะตัดสินใจลาออกมาเป็นนักลงทุนอย่างเต็มตัวกันครับ
ความเห็นของผมต่อกระทู้นี้
ก่อนอื่นผมคงต้องขอบอกก่อนเลยนะครับว่าจริงๆแล้วผมเป็นคนไม่ชอบ “เผือก” หรือ “นั่งปูเสื่อต้มมาม่า” ไปนั่งอ่านหรือนั่งตอบกระทู้เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวหรือครอบครัวคนอื่นสักเท่าไหร่นักหรอกนะครับ (จะมีคนเชื่อไหมเนี่ย 55) แต่หลังจากที่ผมได้รับการแชร์ลิงค์เข้ามาและแวะเข้าไปอ่านกระทู้นี้แล้ว ผมพบว่ามันค่อนข้างที่จะมีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องหุ้น และเป็นเรื่องที่ผมไม่เคยเขียนลงในบล็อกมาก่อนเลยเสียด้วย (ผมต้องขออณุญาติและขอบคุณทั้งคุณเจ้าของกระทู้และสามีในการอ้างอิงถึงที่มาของบทความนี้ด้วยนะครับ)
อย่างไรก็ตามสำหรับบทความนี้นั้น ผมเองจะไม่ขอฟันธงหรือโน้มน้าวหรือตัดสินใจแทนใครทั้งสิ้นนะครับ เพราะผมเชื่อว่าแต่ละคนแต่ละครอบครัวนั้นควรคุยกันและเลือกหนทางของตนเองด้วยความคิดและเหตุผลของพวกเขา เพราะแน่นอนว่าโอกาสที่จะสำเร็จมันก็มี แต่โอกาสเจ๊งมันก็มีมากเหมือนกัน (ตัวผมเองไม่เคยทำงานประจำและอาศัยรายได้จากตลาดหุ้นเป็นหลักมาตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะเคยมีความฝันแบบนี้เช่นเดียวกัน แต่ก็ได้เริ่มต้นเล่นหุ้นและฝ่าฟันหากับตลาดมาตั้งแต่จบชั้น ม.ปลาย ซึ่งผมต้องขอยอมรับว่ามันไม่ง่ายเหมือนที่เคยคิดฝันไว้ในตอนแรกๆเลยครับ *o*) ดังนั้นแล้วผมคิดว่ามันจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการที่จะแชร์สิ่งต่างๆที่ผมต้องครุ่นคิดก่อนที่จะกล้าเสี่ยงเข้ามาอยู่ในตลาดแบบเต็มตัว และผมก็เชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่คุณควรคิดและตัดสินใจให้ดีก่อนที่จะออกมาเล่นหุ้นเต็มตัวเช่นกัน ว่าแล้วก็เข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ
1. ความพร้อมของตัวเราเอง (และครอบครัว)
แน่นอนครับว่าความพร้อมอย่างแรกของตัวเราเลยก็คือความรู้ความเข้าใจในตลาดหุ้นว่ามากน้อยสักแค่ไหนนั่นเอง โดยความพร้อมเหล่านี้ผมอยากจะขอแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักๆซึ่งก็คือ
- ความรู้ด้านทฤษฎีการลงทุน ซึ่งหาได้จากการพูดคุย, อ่านหนังสือและเข้าอบรมในงานสัมมนาต่างๆ (เข้าถึงง่ายที่สุด)
- ความรู้ในเชิงปฎิบัติ ซึ่งเป็นความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องมือต่างๆที่เราจะนำมาใช้ในการลงทุนของเราทั้งในการซื้อขายและการทดสอบวิจัยต่างๆ (ความรู้เชิงลึกแบบ Know-How)
- ความรู้และความชำนาญจากประสบการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการลงทุนจริงๆว่าตรงไหนบ้างที่เป็นอุปสรรคหรือขีดจำกัดของการลงทุน (ความรู้ที่เกิดขึ้นจากความรู้ + ประสบการณ์ ที่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นตัวบ่มเพาะ)
โดยที่ผมเชื่อว่าความรู้ความเข้าใจทั้ง 3 ประการของคุณนี้ควรจะอยู่ในระดับที่ดีมากๆพอสมควรครับ ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะรู้สึกกดดันและสับสนเป็นอย่างมากเมื่อกระโจนเข้าตลาดอย่างเต็มตัวก็ได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะมั่นใจว่าคุณรู้ดีสักแค่ไหน แต่จากประสบการณ์และงานวิจัยต่างๆนั้น เรามักพบว่านักลงทุนในตลาดมักที่จะมีความมั่นใจในตนเองที่สูงเกินกว่าความสามารถที่แท้จริงไปอยู่เสมอ ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะมีความมั่นใจในความรู้และฝีมือของตนเองสักเท่าไหร่นั้น ขอให้พึงระลึกอยู่เสมอว่าผลลัพท์ของการกระทำทุกๆอย่างนั้นมี “ความน่าจะเป็น” ทั้งในเชิงบวกและลบแฝงอยู่เสมอ (ส่วนใหญ่มันมักที่จะออกไปในเชิงลบเสียด้วยสิ 55) และเราก็มักที่จะเชื่อว่าเรารู้มากกว่าสิ่งที่เรารู้จริงๆอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน เราจึงควรต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและเปรียบเทียบกับผู้เล่นรายอื่นๆในตลาดว่าเราอยู่จุดไหนตามความเป็นจริงให้ได้มากที่สุดครับ
ประเด็นความพร้อมอีกอย่างที่ผมคิดว่าเราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของครอบครับและสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา เพราะถึงแม้ว่าคุณจะเชื่อว่าคุณมีความพร้อมและความสามารถแค่ไหนแล้วล่ะก็ หากว่าคุณยังคงจะต้องสู้รบปรบมือกับผู้คนที่อยู่รอบข้างของคุณอยู่เสมอแล้ว สมาธิและความนิ่งของจิตใจในการลงทุนของคุณจะสั่นคลอนอยู่เป็นระยะๆ (เช่นในกระทู้ที่คุณภรรยาต้องมาขอความเห็นและคำแนะนำจากเพื่อนๆในเว็บบอร์ด)
ผมเองเห็นว่าเรื่องความพร้อมของทางครอบครัวเป็นตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนของเราเลยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งการที่เราจะถูกมองด้วยความเป็นห่วงอย่างมากนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าจะต้องไปโมโหใครหรือน่าแปลกใจอะไรให้มากมาย เนื่องมาจากตามสถิติแล้วมีคนกลุ่มเล็กๆไม่ถึง 5% ในตลาดเท่านั้นที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวนั่นเอง (ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราจะเข้าใจครับ)
ดังนั้นแล้วทางแก้ก็คือการที่พยายามพูดคุยและปรับความเข้าใจกับพวกเขาเกี่ยวกับเป้าหมายและความฝันความต้องการของเรา รวมถึงการแสดงให้พวกเขาได้เห็นถึงหลักฐานต่างๆที่จะทำให้พอให้เชื่อมั่นได้ว่าคุณเองนั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง รวมไปถึงว่าหากคุณพลาดพลั้งในเกมการเงินครั้งนี้แล้ว มันจะไม่ทำให้พวกเขาจะต้องเดือดร้อนอะไรไปกับคุณอย่างมากมายอีกด้วย โดยหลักฐานเหล่านั้นก็อาจเป็นผลการลงทุนของคุณเองในช่วง 4 – 5 ปีที่ผ่านมา (Minimum Track Record) หรือแม้กระทั่งการแบ่งเงินทุนส่วนหนึ่งออกมาเพื่อรับประกันให้ได้ว่าไม่ว่าผลลัพท์จะเป็นเช่นไร (Non-Investment Budget) คุณและเขาจะยังมีทางรอดให้เดินต่อไปได้อย่างไม่ยากลำบากนัก ไม่เช่นนั้นแล้วความพร้อมของครอบครัวก็จะกลายเป็น “ชนัก” ติดหลังคุณในขณะที่ทำการลงทุนอยู่เสมอครับ
2. ขนาดของเงินทุนตั้งต้น (และสายป่าน)
ขนาดของเงินทุนตั้งต้นและสายป่านนั้นสำคัญมากแค่ไหน? คำตอบก็คือสำคัญมากถึงมากที่สุดครับ เพราะการลงทุนชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการนำเงินทุนมาลงเพื่อหาผลตอบแทนในตลาด ดังนั้นเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างเพียงพอในการดำรงค์ชีวิตแล้วล่ะก็ มันก็ควรที่จะต้องมีจำนวนเงินมากพอควรที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนขั้นต่ำจนหักลบกลบหนี้ค่าใช้จ่ายของคุณได้ทั้งหมด
ซึ่งจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผมคิดว่าอาจจะเพียงพอ (ในกรณีที่ตลาดนั้นดีขึ้นในระยะยาว) ก็ควรจะต้องเป็นเลข 7 – 8 หลักขึ้นไปครับ ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณเป็นโคตรอัจฉริยะที่ทั้งเก่งบวกเฮง เนื่องจากเมื่อมองตามความเป็นจริงนั้นหากว่าผลงานของนักลงทุนระดับโลกในระยะยาวส่วนใหญ่จะมีผลตอบแทนทบต้นหรือ CAGR อยู่ที่ราวๆ 20% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากคิดเสียว่าคุณโชคดีประสบความสำเร็จได้ผลตอบแทนที่สักราวๆครึ่งหนึ่งของพวกเขาในระยะยาว หรือได้รับผลตอบแทนทบต้นราว 10% ของจำนวนเงิน 8 หลักนี้ มันก็น่าที่จะพอประทังให้ชีวิตของคุณอยู่ได้อย่างไม่ยากลำบากเกินไป (ยกเว้นว่าคุณจะมีความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายที่มากมายพอสมควร) นอกจากนี้แล้วหากจะอ้างอิงจากผลตอบแทนของดัชนี SET Index ภายในช่วงราวๆ 10 ปีหลังตั้งแต่ 2004 เป็นต้นมานั้น ตลาดจะให้ CAGR อยู่ที่ราว 6% (ยังไม่รวมปันผล) ดังนั้นการคาดหวังผลตอบแทนในแง่ดีที่สามารถเอาชนะตลาดได้ที่ราวๆ 10% ต่อปีก็ดูจะมีเหตุผลอยู่ไม่น้อย (แต่ถ้าฟลุคแจ็คพอทแตกตลาดดีมากๆตั้งแต่ต้นก็อีกเรื่องนึงนะครับ )
โดยที่นอกเหนือไปจากขนาดของเงินต้นในการลงทุนแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของเงินทุนสำรองที่คุณจะต้องเจียดออกมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอย่างน้อย 3 – 4 ปีครับ
ถามว่าทำไมต้อง 3 – 4 ปี เป็นอย่างน้อย?
สาเหตุก็เพราะถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในระยะยาว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในทุกๆวัน, ทุกๆเดือน หรือทุกๆปีนั่นเอง มิหนำซ้ำแล้วในความเป็นจริงนั้นผลตอบแทนส่วนใหญ่ของพวกเราก็มักที่จะเป็นไปในทางเดียวกับตลาดด้วยเช่นกัน (High Correlation of Returns) ซึ่งเมื่อมองอย่างแง่ดีไปที่ดัชนี SET Index ตั้งแต่ต้นปี 2004 มานั้น พวกมันเคยอยู่ในช่วง Flat Time หรือไม่สามารถที่จะสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้นานถึง 42.40 เดือนหรือราว 3 ปีกว่าๆในช่วงปี 2007 – 2010 เลยทีเดียว (ไม่ต้องพูดถึงเหตุการณ์จากครั้งต้มยำกุ้งนะครับ เพราะจนป่านนี้ตลาดยังไม่สามารถจะทำจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นได้เลย) นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องควรมีเงินทุนสำรองเพื่อใช้จ่ายเอาไว้อย่างน้อย 3 – 4 ปี หรือมีช่องทางรายได้อื่นๆเผื่อเอาไว้ในยามที่ตลาดย่ำแย่ขึ้นในอนาคตนั่นเอง
โดยที่ภาพและตารางด้านล่างก็คือตัวเลขสถิติที่น่าสนใจต่างๆของดัชนี SET Index ภายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโดยคำนวณจากผลตอบแทนรายเดือนของดัชนี (Monthly Return) ซึ่งน่าจะช่วยให้คุณได้เห็นถึงธรรมชาติความผันผวนและผลตอบแทนโดยรวมของตลาดได้ดีในระดับหนึ่งกันครับ
ภาพที่ 1 ค่าสหสัมพันธ์ของผลตอบแทนรายเดือน (Monthly Returns Correlation) ระหว่างตัวอย่างระบบการลงทุนในรูปแบบหนึ่งซึ่งผมจะขอนำมาเป็นตัวอย่างในบทความนี้ และมันก็คือ Simple Turtle System ซึ่งเป็นระบบการลงทุนในลักษณะ Long Term Trend Following ที่พวกเราใช้กันอยู่เสียส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกันกับดัชนี SET Index เป็นอย่างมาก โดยให้ค่า Correlation ที่สูงถึง 0.65 เลยทีเดียว
ตารางที่ 1 ผลตอบแทนและความเสี่ยงโดยรวมของดัชนี SET Index ตั้งแต่ 2004-01-01 ถึง 2014-10-10 (ค่าที่ได้จะอยู่ในหน่วยทศนิยม ถ้าคิดเป็น % ต้องคูณด้วย 100 นะครับ เผื่อใครมึน ) ซึ่งจะสังเกตได้ว่าตลาดนั้นให้ผลตอบแทนรายเดือนที่ผันผวนอยู่พอสมควร (Annualized Standard Deviation) นอกจากนี้แล้วผลตอบแทนรายปีที่เป็นบวกก็ยังมากพอๆกับผลตอบแทนรายปีที่เป็นลบอีกด้วย (% Positive Year)
ตารางที่ 2 รายละเอียดของการเกิด Drawdown หรือการลดลงของมูลค่า SET Index จากจุดสูงสุดในขณะนั้นๆ ตั้งแต่ 2004-01-01 ถึง 2014-10-10 โดยที่ Length คือระยะเวลาเป็นจำนวนวันที่มีการซื้อขาย, To Through คือจำนวนวันนับตั้งแต่จุดสูงสุดลงไปยังจุดต่ำสุด, Recovery คือจำนวนวันที่ดัชนีวิ่งขึ้นมาจากจุดต่ำสุดในรอบนั้นจนสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ โดยจากตารางนี้เราจะสังเกตได้ว่าตลาดเคยร่างลงหนักที่สุดกว่า –58.02% ในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และเคยจมอยู่กับ Drawdown นานที่สุดถึง 848 วันทำการ (ราว 3.36 ปี) ในช่วงระหว่างปี 2004 – 2007
Note : จังหวะการขึ้นลงของผลตอบแทนของเรานั้นอาจจะเกิดขึ้นไกล้เคียงกันกับสภาวะของตลาด แต่มันอาจแตกต่างกันตรงขนาดของการขาดทุนและกำไรที่มากกว่าหรือน้อยกว่าตลาดในแต่ละช่วง และนั่นก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมผลตอบแทนในการลงทุนของคนส่วนใหญ่จึงแตกต่างกันออกไปได้ทั้งบวกและลบนั่นเองครับ
3. แผนธุรกิจการลงทุน
อย่างที่ผมได้พูดไปแล้วว่าความพร้อมจากครอบครัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากๆอย่างหนึ่งของการลงทุนในตลาดหุ้น และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาพอที่จะใจชื้นได้ก็คือหลักฐานบางอย่างซึ่งจะบ่งชี้ให้พวกเขาเห็นได้ว่าคุณมีโอกาสประสบความสำเร็จและจะไม่ทำให้พวกเขาต้องเดือดร้อนมากมายนักหากคุณล้มเหลว โดยที่หลักฐานเหล่านั้นก็คือผลตอบแทนย้อนหลังของคุณในตลาดอย่างน้อยที่สุด 4 – 5 ปี (1 Market Cycle แต่จะดีที่สุดควรผ่านอย่างน้อย 2 Cycle ของตลาด) เพื่อที่คุณจะได้สำผัสและรู้ซึ้งถึงรายละเอียดและสิ่งที่คุณอาจจะต้องเผชิญในวันข้างหน้านั่นเอง
โดยนอกจาก Track Record ของคุณแล้ว สิ่งที่คุณควรมีก็คือการมีแผนธุรกิจในการลงทุนที่ชัดเจนอีกด้วยครับ แล้วแผนธุรกิจในการลงทุนในตลาดหุ้นมันมีหน้าตาเป็นอย่างไรน่ะหรือครับ? … ในเมื่อเราเองก็ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้อย่างแน่นอนว่าตลาดจะดีหรือร้ายมากสักแค่ไหนในปีต่อๆไป อีกทั้งผลตอบแทนรายวันและรายเดือนของตลาดก็มักที่จะมีความผันผวนเป็นอย่างมากเอาเสียด้วย!?
คำตอบที่พอจะทำให้คุณประมาณการณ์ได้ไกล้เคียงตามความเป็นจริงและเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุดคำตอบหนึ่งก็คือ … “ผลการทดสอบระบบการลงทุนย้อนหลังเชิงลึก” (Rigorous Backtesting Result) ของคุณนั่นเอง!!
โดยที่คุณต้องไม่ลืมว่าผลการทดสอบระบบการลงทุนย้อนหลังนั้นย่อมมีขีดจำกัดในตัวของมันอยู่ และมันก็ไม่สามารถที่จะยืนยันหรือให้ความมั่นใจกับคุณได้อย่างเต็มที่ 100% ว่า ระบบการลงทุนของคุณจะยังคงสามารถทำกำไรและเอาชนะตลาดได้ต่อไปหรือไม่ในอนาคต (ระบบการลงทุนที่ให้ผลที่ดีในอดีตอาจพังทลายลงในอนาคต หากตัวแปรเงื่อนไขของมันด้อยประสิทธิภาพลง) แต่อย่างน้อยที่สุดแล้วผมคิดว่าหากคุณไม่มีผลการทดสอบเชิงลึกที่ชัดเจน หรือแม้กระทั่งไม่สามารถที่จะทำการทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของระบบการลงทุนของคุณออกมาได้แล้วล่ะก็ ในฐานะของ Systematic Trader อย่างผมคิดว่าคุณเองยังไม่สมควรที่จะก้าวเข้ามาอย่างเต็มตัว โดยหวังพึ่งพาแต่รายได้จากกำไรในตลาดหุ้นแห่งนี้ครับ!
สาเหตุก็เนื่องมาจากสำหรับผมและนักลงทุนมืออาชีพหลายๆคนแล้ว การลงทุน-เก็งกำไร ถือเป็นการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบและปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการวิเคราะห์หุ้นเท่านั้น (Stock Selection) เช่น มันยังมีเรื่องของการวางแผนหาจังหวะการลงทุน (Market Timming), การควบคุมความเสี่ยง (Risk Management), การบริหารขนาดการลงทุน (Money Management) การปรับสัดส่วนของทรัพย์สินในการลงทุน (Asset Allocation) หรือแม้กระทั่งการบริหารดูแลสภาพแวดล้อมและเครื่องมือ, ข้อมูล และโปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการลงทุน ที่จะต้องทำควบคู่กันไปอยู่ตลอดเวลา (Operation Management)
สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องถูกเขียนและวางแผนเอาไว้เป็นอย่างดีก่อนที่จะทำการลงทุนใดๆลงไปในตลาดก่อนเสมอ ซึ่งผมเองคิดว่าความสามารถในการที่คุณจะสามารถทำการทดสอบย้อนหลังได้อย่างละเอียดและชัดเจนนั้นก็คือ “ข้อสอบ” ภาคบังคับที่คุณจะต้องสามารถแปลงเอาสิ่งที่คุณคิดให้กลายเป็นกฎที่ชัดเจนเพียงพอ จนกระทั่งคอมพิวเตอร์ก็สามารถที่จะปฏิบัติตามและวัดผลของมันออกมาได้ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณและคนรอบข้างของคุณพอที่จะหาความน่าจะเป็นได้ว่า แท้จริงแล้วคุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากน้อยสักแค่ไหนในอนาคต
โดยที่ภาพและตารางด้านล่างคือตัวอย่างของข้อมูลเปรียบเทียบในเชิงสถิติที่คุณควรจะต้องรับรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์และระบบการลงทุนของคุณ โดยในบทความนี้ผมจะขอแสดงตัวอย่างของผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบในเบื้องต้น ระหว่างระบบ Simple Turtle System (ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่เรียบง่ายและให้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรในระยะยาว — อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี) กับ ดัชนี SET Index ตั้งแต่ปี 1984 จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งผมถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่อย่างน้อยที่สุดแล้วคุณควรที่จะต้องรับรู้และเข้าใจมัน ก่อนที่จะตัดสินใจกระโดดเข้ามาทำการลงทุน-เก็งกำไรในตลาดอย่างเต็มตัวครับ
ภาพที่ 2 ตัวอย่างการเติบโตผลตอบของระบบ Simple Turtle System Vs. SET Index (Benchmark) ตั้งแต่ 1984-01-04 ถึง 2014-10-10 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการค่อยๆเติบโตขึ้นของเงินทุนจากระบบ จนกระทั่งสามารถสร้างผลตอบแทนทิ้งห่างดัชนี SET Index ไปได้ในที่สุดในระยะยาว
ตารางที่ 3 ตัวอย่างค่าสถิติเปรียบเทียบระหว่าง Simple Turtle System VS. SET Index ในภาพรวมตั้งแต่ 1984-01-04 ถึง 2014-10-10 ซึ่งแสดงให้เห็นถึง Performance ของระบบในแง่มุมต่างๆเปรียบเทียบกับดัชนี
Note 2 : สำหรับระบบ Simple Turtle System ในบทความนี้นั้น เป็นระบบที่นำระบบ Turtle 55-20 วันมาปรับปรุงและใส่ Long Term Trend Filter เข้าไป โดยผลการเติบโตของเงินทุนที่ได้เป็นเพียงผลตอบแทนเบื้องต้นในทางทฤษฎีที่รวมค่าคอมมิสชั่นแล้ว แต่ยังไม่ได้ใส่เงื่อนไขและข้อจำกัดของตลาดอย่างเข้มงวดลงไป โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อแสดงตัวอย่างเท่านั้นครับ (ใครสงสัยว่ามันคืออะไรลองไปไล่อ่านบทความเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ดูนะครับ)
4. ทางหนีทีไล่และช่องทางของรายได้อื่นๆ
ข้อคิดสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากเอาไว้ก่อนที่พวกเราจะตัดสินใจกระโดดลงมาในตลาดกันอย่างเต็มตัวเต็มเวลาก็คือ เรื่องของทางหนีทีไล่และช่องทางของรายได้อื่นๆ เพราะอย่างที่ผมได้แสดงให้เห็นไปแล้วว่าตลาดหุ้นนั้นมีความผันผวนเป็นอย่างมากกว่าการลงทุนในลักษณะอื่นๆโดยทั่วไป นอกจากนี้แล้วกลยุทธ์การลงทุนที่เคยเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพในอดีตก็ไม่ได้มีอะไรสามารถรับประกันได้ว่ามันจะยังคงมีประสิทธิภาพเช่นนั้นในอนาคต ทุกอย่างในตลาดหุ้นยังคงเป็น “ความน่าจะเป็น” อยู่เสมอ ดังนั้นแล้วผมจึงคิดว่ามันไม่เห็นที่จะผิดอะไรในการที่เราจะมองหาช่องทางของรายได้อื่นๆไม่ว่าจะเป็นการทำงานประจำ-ไม่ประจำ หรือการทำธุรกิจต่างๆ เพราะนั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในพฤติกรรมของตลาดตามความเป็นจริง (และเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัวอีกด้วย)
และเพื่อที่จะทำให้ทุกคนเห็นภาพกันอย่างกระจ่างชัดเจนสำหรับแนวคิดในข้อคิดนี้นั้น ในบทความนี้ผมจึงอยากจะทำการจำลองสถานการณ์เพื่อหาความน่าจะเป็นของผลตอบแทนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกันออกมาให้พวกเราดูเป็นตัวอย่างกันสักเล็กน้อย
โดยการจำลองสถานการณ์แบบ Stress Test ในลักษณะนี้นั้น พวกเรานักเล่นหุ้นก็มักเรียกมันว่าการทำ Bootstrapping หรือ Monte Carlo Simulation ออกมานั่นเอง (หากใครอ่านแล้วมึน งง ก็ข้ามไปอ่านส่วนการอธิบายค่าที่ได้จากตารางได้เลยนะครับ) ซึ่งหากจะให้พูดเป็นภาษาชาวบ้านให้ง่ายที่สุดแล้วก็คือ การจำลองด้วยการสุ่มหยิบเอาข้อมูลผลตอบแทน (ในที่นี้จะใช้รายเดือน Monthly Return) จากฐานข้อมูลชุดเดิมๆออกมาสร้างเป็นข้อมูลชุดใหม่ๆเป็นร้อยเป็นพันครั้ง (ในการจำลองครั้งนี้ใช้ผลตอบแทนรายเดือนของระบบ Simple Turtle System และ SET Index ตั้งแต่ปี 1984 จนถึงปัจจุบัน) เพื่อที่จะหาค่าสถิติโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นกันออกมา (Re-Sampling Method)
โดยที่ในบทความนี้ผมจะทำการสุ่มหยิบเอาผลตอบแทนรายเดือนของระบบ Simple Turtle System และ SET Index ออกมาเรียงกันใหม่จำนวน 100 ชุด โดยในแต่ละชุดจะมีจำนวนผลตอบแทนรายเดือนเท่ากันเช่นเดิม และในแต่ละครั้งที่ผมหยิบข้อมูลออกมานั้น หลังจากที่ได้บันทึกค่าผลตอบแทนรายเดือนออกมาไว้แล้ว เราก็โยนข้อมูลชิ้นที่หยิบขึ้นมาได้กลับเข้าไปในฐานข้อมูลเดิมอีกครั้งหนึ่ง (Sample with Replacement) เพื่อที่จะเป็นการจำลองสถานการณ์ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้จากฐานข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่นั่นเองครับ
โดยตารางต่อไปนี้ก็คือผลลัพท์ที่จะบอกกับเราว่ามีความเป็นไปได้อย่างไรบ้างในอนาคต กับผลการลงทุนของระบบ Simple Turtle System และดัชนี SET Index โดยอิงจากผลลัพท์ 95% ของการจำลองทั้งหมด (95% Confidence Level)
ตารางที่ 4 ค่าผลตอบแทนภายใต้ความมั่นใจที่ 95% จากการจำลองสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบ Bootstrapping หรือ Monte Carlo Simulation ของระบบ Simple Turtle System และดัชนี SET Index (Benchmark) จากฐานข้อมูลผลตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ 1984-01-04 ถึง 2014-10-10 โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าระบบและดัชนีจะยังคงมีพฤติกรรมพื้นฐานในลักษณะเดิมแต่การเรียงตัวของสถานการณ์ในอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งค่าต่างๆที่ได้จากตารางนั้นจะถือเป็นค่ากรณีเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ความมั่นใจที่ 95% โดยที่ค่าผลตอบแทนทบต้นหรือ CAGR สำหรับ Simple Turtle System และ SET Index นั้นมีได้ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า 17.77% และ –1.40% ต่อปีตามลำดับ, ค่า Maximum Drawdown หรือการลดลงสูงสุดของมูลค่าเงินทุนนั้นจะน้อยกว่า -65.15% และ –98.72% ตามลำดับ, ค่า Longest Drawdown จะน้อยกว่า 106 เดือน (8.83 ปี) และ 309.1 เดือน (25.75 ปี) ตามลำดับ ส่วนค่า MAR Ratio หรือการนำเอา CAGR หารด้วย Max Drawdown นั้นจะมากกว่า 0.2962 และ –0.004301 ตามลำดับ
จากข้อมูลในเบื้องต้นนี้เราจะเห็นได้ว่า ค่าที่เราได้จะแตกต่างและย่ำแย่ลงจากการทำ Backtest ในเบื้องต้นค่อนข้างมาก (ตารางที่ 3) เนื่องจากมัแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีเลวร้ายในอนาคต แน่นอนว่าพวกมันอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตามผลลัพท์ของการจำลองก็ได้บอกกับเราว่าราว 95% ของผลการจำลองให้ผลที่มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าต่างๆเหล่านี้ และนี่ก็เป็นสิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจและยอมรับ รวมถึงรับรู้มันก่อนที่เราจะตัดสินใจกระโดดเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มตัวนั่นเองครับ
แล้วคุณควรจะลาออกจากงานประจำมาเล่นหุ้นอย่างเดียวหรือไม่?
อย่างที่ผมได้บอกไปแล้วว่า ผมคิดว่าการตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณจะต้องทำการพิจารณาให้รอบคอบก่อนด้วยตัวคุณเอง อย่างไรก็ตามผมเองเชื่อว่าหากคุณยังไม่สามารถที่จะตอบคำถามหรือแก้โจทย์ทั้ง 4 ข้อที่ว่ามาได้ อนาคตในการเป็นนักลงทุน-เก็งกำไรแบบเต็มตัวที่ประสบความสำเร็จก็ค่อนข้างจะริบหรี่ลงอยู่พอสมควร เพราะนั่นหมายความว่าคุณเองก็ยังไม่รู้ว่าคุณอาจจะต้องเจอกับอะไรบ้างในตลาด หรือแม้กระทั่งรู้ซึ้งถึงโอกาสในการประสบผลสำเร็จของคุณเลยแม้แต่น้อย และมันก็เป็นสิ่งที่ยากมากๆที่คุณจะสามารถเอาตัวรอดและควบคุมสติเมื่อต้องเจอกับสภาวะตลาดที่ผันผวนหรือโหดร้ายได้นั่นเองครับ
และนี่ก็คือแง่คิดที่ผมพอจะนึกได้และปั่นออกมาเป็นบทความในช่วงโคตรดึกของวันอาทิตย์นี้ ซึ่งหากว่าใครสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้กับตัวเอง และยอมรับถึงผลที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้แล้วล่ะก็ ผมก็คงต้องขอแสดงความยินดีและต้อนรับคุณเข้าสู่การเป็นเพื่อนพ้องนักลงทุน-เก็งกำไรในตลาดอย่างเต็มตัวกันล่วงหน้านะครับ
สำหรับบทความนี้ก็คงจะขอจบเพียงเท่านี้ ใครมีแง่คิดประสบการณ์อยากแชร์เพิ่มเติมก็เชิญคอมเมนท์กันได้ตามสบายนะครับ เพราะบทความนี้ค่อนข้างจะปั่นอยู่พอสมควร รายละเอียดต่างๆอาจยังไม่ครบถ้วนสักเท่าไหร่นัก ส่วนตอนนี้ผมขอตัวไปนอนก่อนแล้วกันครับผม :D
กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ
บนโลกนี้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รวยมาตั้งแต่เกิดครับ แต่ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นจะไม่เท่ากัน บางคนแต่เส้นทางที่เลือกเดินเราเลือกได้ครับ สำหรับผมตลาดหุ้นเป็นตลาดแห่งโอกาสครับ เพราะด้วยเงินออมน้อยนิดแต่ไม่กี่พันก็สามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ร้านกาแฟและอาหารสุดหรูกลางห้างดัง โรงแรมห้าดาวกลางกรุง คอนโดสุดหรูกลางใจเมือง โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ แต่เงินน้อยๆจะทำอย่างไรต้องมีกลยุทธ์ครับ ขอนำเสนอบทความ "กลยุทธ์การลงทุน กรณีเริ่มต้นเงินทุนน้อยๆ" โดยพี่โจ ลูกอีสานเขียนไว้ใน Thaivi [1] ครับมันยอดมาก
ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด และต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
ประเด็นแรกการหากเงินมาลงทุนให้มากที่สุด ผมคงไม่เน้นมากครับ แต่จะไปเน้นในประเด็นที่สองคือทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
ประเด็นนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกคนต่างต้องการ และยิ่งหากมีเงินลงทุนไม่มาก การทำผลตอบแทนให้สูงๆยิ่งมีความสำคัญ การมีเงินลงทุนน้อยๆและทำผลตอบแทนในระดับปกติ เช่น 10-15% ต่อปี กว่าที่เงินลงทุนจะเติบโตสมมุติ 1 เท่าตัว อาจใช้เวลา 5-6 ปี ซึ่งอาจจะน่าพอใจหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับเงินฝาก แต่อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาการลงทุน นอกจากนั้นแม้เงินทุนจะเพิ่มขึ้นมาระดับนี้ แต่ด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อย กำไรที่ทำได้ก็น้อยไปด้วย และสุดท้ายจะพาลทำให้นักลงทุนหมดกำลังใจ เพราะดูเหมือนการลงทุนอย่างนี้ทำให้รวยช้า อาจหันเหไปเก็งกำไร หรือไปเสี่ยงโชคกับการธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นว่าจะทำให้รวยเร็วกว่า
การเพิ่มเทคนิค กลยุทธ์เพียงเล็กๆน้อยๆ สำหรับพอร์ตการลงทุนเล็กๆ อาจจะเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ที่จริงกลยุทธิ์เหล่านี้เพื่อนๆหลายท่านก็ทราบกันดีจากที่โพสต์มา แต่หากนำมาเรียบเรียงรวมกันเป็นหมวดหมู่ จะเป็นประโชน์กับเพื่อนๆได้พิจารณาเป็นทางเลือกใหม่ครับ :D
กลยุทธ์ที่ผมพอจะคิดออก หรือท่านใดจะเสริม มีดังนี้ครับ
ผมมองผ่านภาพใหญ่ 2 ประเด็นคือ ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด และต้องทำให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
1. ควรจะเพิ่มเงินลงทุนให้มากที่สุด
สามารถแยกเป็นภาพย่อยๆได้อีกคือ ควรเพิ่มรายได้ เพิ่มจำนวนเงินให้มากที่สุด และลดรายจ่ายให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มเงินออม ที่จะนำมาลงทุน- เพิ่มรายได้ ผมมองในแง่คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนไม่สูงมาก การเพิ่มรายได้สามารถทำได้โดยการหารายได้เสริม การย้ายงานใหม่ การเพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มค่าจ้าง การแต่งงานที่คู่ชีวิตมีรายได้ด้วย (ถ้าโชคดีได้แฟนรวยจะดีมาก ) การหยิบยืมเงินจากพ่อแม่หรือญาติในระดับที่หากเสียหายก็ไม่ทำให้เดือนร้อนมาก ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อมาลงทุน เพราะจะมีแรงกดดันจากที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยตลอดเวลา
- การลดรายจ่าย รายจ่ายที่หนักที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่คือการผ่อนรถ-ผ่อนบ้าน คุณสุวภา ผู้เขียนหนังสือ show me the money เคยพูดไว้ว่าตัวอย่างการใช้เงินที่เลวที่สุดของหนุ่มสาวที่กำลังสร้างอนาคตคือการซื้อรถ แต่ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันพอสมควร หลายท่านอาจจะบอกว่าทั้งบ้านและรถเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หรือต้องใช้ประกอบการทำงาน ซึ่งผมก็เห็นด้วยในบางประเด็น แต่ถ้ามองรอบด้าน เราอาจจะพบว่ามีทางเลือกอื่นๆอีก ที่ทำให้สามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้ เช่น
- แทนที่จะผ่อนบ้าน เราอาจจะอดทนอาศัยอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนที่สนิท หรือแม้แต่การเช่าบ้านที่ค่าเช่าไม่สูงมาก เหล่านี้แม้จะไม่สะดวกสบายเท่า แต่สามารถประหยัดทั้งดอกเบี้ยผ่อนและยังสามารถนำเงินต้นไปหาดอกผลจากการลงทุน
- แทนที่จะผ่อนรถ เสียทั้งเงินต้นและดอกและยังมีค่าใช้จ่ายน้ำมัน ทางด่วน ซ่อมแซม ค่าประกัน เหล่านี้เป็นเงินจำนวนมากที่เราคาดไม่ถึง เราอาจจะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ หรือกระทั่งซื้อรถมือสองที่ราคาถูกกว่ามาก หรือหากยังมีค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนงาน หรือย้ายบ้าน ย้ายที่พักซะเลย ให้ที่ทำงานกับที่พักอยู่ใกล้ๆกันเพื่อประหยัดค่าเดินทาง
- รายจ่ายอื่นๆที่พอจะประหยัดได้เช่น ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เราต้องจ่ายทุกเดือน ถ้าคิดเป็นรายจ่ายทั้งปีเราอาจจะตกใจ ทางเลือกคือ เราอาจะโทรน้อยลง หรือไม่โทรเลย (ไม่โทรไม่ตายซักหน่อย )เปลี่ยนเครื่องนานๆครั้ง ใช้เครื่องถูกๆ
ประเด็นแรกการหากเงินมาลงทุนให้มากที่สุด ผมคงไม่เน้นมากครับ แต่จะไปเน้นในประเด็นที่สองคือทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนมากที่สุด
2. ทำอย่างไรให้เงินลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด
ประเด็นนี้เชื่อว่านักลงทุนทุกคนต่างต้องการ และยิ่งหากมีเงินลงทุนไม่มาก การทำผลตอบแทนให้สูงๆยิ่งมีความสำคัญ การมีเงินลงทุนน้อยๆและทำผลตอบแทนในระดับปกติ เช่น 10-15% ต่อปี กว่าที่เงินลงทุนจะเติบโตสมมุติ 1 เท่าตัว อาจใช้เวลา 5-6 ปี ซึ่งอาจจะน่าพอใจหากเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับเงินฝาก แต่อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาการลงทุน นอกจากนั้นแม้เงินทุนจะเพิ่มขึ้นมาระดับนี้ แต่ด้วยเงินเริ่มต้นที่น้อย กำไรที่ทำได้ก็น้อยไปด้วย และสุดท้ายจะพาลทำให้นักลงทุนหมดกำลังใจ เพราะดูเหมือนการลงทุนอย่างนี้ทำให้รวยช้า อาจหันเหไปเก็งกำไร หรือไปเสี่ยงโชคกับการธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นว่าจะทำให้รวยเร็วกว่า
การเพิ่มเทคนิค กลยุทธ์เพียงเล็กๆน้อยๆ สำหรับพอร์ตการลงทุนเล็กๆ อาจจะเพิ่มผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ที่จริงกลยุทธิ์เหล่านี้เพื่อนๆหลายท่านก็ทราบกันดีจากที่โพสต์มา แต่หากนำมาเรียบเรียงรวมกันเป็นหมวดหมู่ จะเป็นประโชน์กับเพื่อนๆได้พิจารณาเป็นทางเลือกใหม่ครับ :D
กลยุทธ์ที่ผมพอจะคิดออก หรือท่านใดจะเสริม มีดังนี้ครับ
- 1. การทำการบ้าน(หุ้น) ไม่แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์หรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่านี่เป็นการแปรเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นพลัง-เป็นแรงบันดาลใจที่ชัดเจนที่สุด ยิ่งหากเราพอร์ตเล็กเท่าไหร่ เราก็ควรจะทำการบ้าน ศึกษาหาข้อมูลหุ้นให้มากขึ้นเท่านั้น มีเพียงสิ่งนี้สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้โดยตรง ทำให้ทุกเวลา ทุกนาที โดยไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่น หากเราไม่มีความรู้ที่จะหาหุ้น ไม่มีความรู้ด้านบัญชี ด้านการเงิน วิธีทีดีที่สุด ก็คือต้องไปเรียน หาหนังสือมาอ่าน หากไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเงิน ผมแนะนำให้ลงเรียนที่ม.รามคำแหง บัญชีเบื้องต้น หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียน ซื้อหนังสือซื้อชีทมาอ่าน ก็เข้าใจได้ครับ
- 2. ไปหาปลาตรงที่มีปลา เนื่องจากเราตั้งโจทย์ว่าเราต้องการผลตอบแทนสูงๆ ดังนั้นเราก็ต้องหาประเภทของหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงๆ เสมือนไปหาปลาตรงที่ๆมีปลา ข้อสังเกตุของผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ มักเป็นหุ้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หุ้นเหล่านี้แม้มีความเสี่ยงทางธุรกิจบ้าง แต่การเพิ่มยอดขายหรือผลกำไรจะทำใด้เร็วกว่าหุ้นมั่นคงขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นหุ้นเหล่านี้ไม่คอ่ยมีนักวิเคราะห์คอยติดตาม ทำให้โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นมีสูง
หลักทรัพย์บางประเภทเช่นวอร์แรนต์ที่นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงเพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งที่ในความเป็นจริงวอร์แรนต์เหล่านี้ในอนาคตก็คือหุ้นสามัญนั่นเอง ดังนั้นเราควรใช้บรรทัดฐานในการประเมินมูลค่าวอร์แรนต์ในทำนองเดียวกับที่เราประเมินมูลค่าหุ้น หากมูลค่าวอร์แรนต์ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในวอร์แรนต์ และที่จริงการลงทุนในวอร์แรนต์โดยปกติจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นสามัญ เพราะคุณสมบัติจากอัตราทวีผลหรือ Gearing นั่นเอง นักลงทุนที่แสวงหากำไรสูงๆ ไม่ควรมองข้ามการลงทุนในวอร์แรนต์ครับ - 3. มองหาตัวเร่งเร้า(ที่รุนแรง) หมายถึงมองหาปัจจัยที่จะเร่งให้กำไรของกิจการเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งจะหมายถึงราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นมากด้วย ตัวเร่งในที่นี้อาจจะเป็นอะไรก็ตาม ที่จะทำให้กำไรของกิจการเพิ่มขึ้นทั้งโดยตัวพื้นฐาน เช่น การขยาย ปรับปรุงกำลังการผลิต การขยายตลาด รวมถึงการเจริญเติบโตปกติของกิจการ การกลับตัวของดีมาน-ซัพพลายของอุตสาหกรรม การซื้อกิจการ การเพิ่มปันผล กำไรพิเศษ นอกจากนั้นยังอาจเป็นตัวเร่งทางปัจจัยจิตวิทยา เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหาร การแตกหุ้น การแจกวอร์แรนต์
หากเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น 2 ตัว ที่มีปัจจัยทางด้านอื่นๆเหมือนๆกันหรือคุณภาพพอๆกัน หุ้นตัวที่มีตัวเร่ง มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า - 4. เริ่มต้นลงทุนให้เร็วที่สุด เพราะการที่พอร์ตการลงทุนจะโตมากๆ ต้องอาศัยการทบต้นหรือการนำกำไรไปลงทุนต่อ ดังนั้นในปีหลังๆพอร์ตการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะเงินต้นมากกว่า แม้จะทำผลตอบแทนได้เท่าเดิม การลงทุนให้เร็วที่สุด จะทำให้เราไปถึงจุดที่เงินลงทุนออกดอกออกผลได้เร็ว นอกจากนั้น การที่เราเริ่มลงทุนเร็ว เท่ากับว่าเราได้เริ่มเรียนรู้เร็วไปด้วย ซึ่งความรู้จะพอกพูนไปตามวันเวลา และประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
เคยมีผลการวิจัยศึกษา พบว่านักลงทุนที่เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าๆกัน ทำผลตอบแทนได้เท่าๆกัน ต่างกันตรงที่เริ่มลงทุนห่างกันหลายปี เมื่อเวลาผ่านไป ผลตอบแทนของทั้งสองคนจะห่างออกจากกันมากขึ้น เสมือนเส้น 2 เส้นที่ลากออกจากจุดเดียวกัน เส้นทั้ง 2 ทำมุมกันเพียงเล็กน้อย ถ้าลากเส้นยาวขึ้นเรื่อยๆ เส้นทั้งสองจะออกห่างกันมากขึ้นทุกที - 5. ผู้บริหารในฝัน เพราะผู้บริหารที่ดีจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนมากกว่าปกติ ผู้บริหารที่นักลงทุนควรมองหาคือ มีความรู้ซึ้งในธุรกิจที่ทำ มีความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล มี passtion ในงานที่ทำ มีความกระหายที่จะทำให้บริษัทเติบโตและที่สำคัญต้องมองผลประโยชน์ในมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้นรายย่อย
ถ้าเจอผู้บริหารที่มีคุณสมบัติข้างต้น ช่วยสะกิดบอกผมด้วย เพราะนี่เป็นสัญญานที่ดีที่จะเจอหุ้นดีๆ การศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านอื่นๆประกอบเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนต่อไป
(เทคนิคไม่ยากที่เราอาจจะพบผู้บริหารอย่างนี้ สังเกตุจากบริษัทที่เข้าร่วมงาน oppurtunity day บ่อยๆ เพราะนั่นแสดงว่าผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ กล้าที่จะเปิดเผยต่อนักลงทุนรายย่อย แสดงว่าผู้บริหารอาจจะมั่นใจว่าบริษัทดีจริง) - 6. ถือหุ้นน้อยตัว หากเรามีเงินทุนน้อย การกระจายการถือหุ้นหลายๆตัว อาจทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลตอบแทนที่ได้จะหักล้างกันทำให้ผลตอบแทนไม่สูงเท่าที่ควร การเลือกที่จะถือหุ้นน้อยตัวเช่น 2-5 ตัว จะทำให้เรามีความรอบคอบ พิถีพิถันที่จะเลือกถือหุ้นในกลุ่มที่ดีที่สุด ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้) และหากเราวิเคราะห์ได้ถูกต้อง ผลตอบแทนที่ได้รับจะคุ้มค่า
ตัวเลข 2-5 ตัวอาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามระดับความมั่นใจในพื้นฐานของหุ้นที่เราจะลงทุน - 7. คาดหวังผลลัพธ์ 100% เลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้กำไรสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยง แม้หุ้นเหล่านี้อาจจะมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่จะศึกษาให้มากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงนี้ แน่นอนว่าในการลงทุนทุกอย่าง เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ หากเราลงทุนในหุ้นที่แพ้ เราจะแพ้ หากเราเลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสทั้งชนะและแพ้ เราจะมีโอกาสทั้งชนะและแพ้ ขึ้นอยู่กับว่าเราศึกษามากน้อยแค่ไหน และบางทีก็เป็น โชคชะตา..
- 8. Growth always better ถ้าหากหลายท่านจำกันได้ กระทู้ของคุณริวกะเมื่อไม่นานมานี้ TVI Index ที่จริงอาจจะมีเพื่อนๆเอะใจว่า คำตอบการลงทุนที่เราค้นหามานาน อาจจะซ่อนอยู่ในกระทู้ที่ว่านี้ก็ได้ คำตอบที่ผมหมายถึงคือหากเราดูผลตอบแทนย้อนหลังของหุ้นหลายๆตัวที่ทำกำไรสูงๆ ในกระทู้นั้น สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกบริษัทเป็นหุ้นเติบโตสูงหรือ growth stock ทั้งสิ้น คำอธิบายแบบเรียบง่ายคือราคาหุ้นขึ้นอยู่กับกำไรที่กิจการทำได้ ถ้ากำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็เพิ่ม คนที่ถือไว้ก็ได้กำไร นักลงทุนทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะมีหุ้นเติบโตสูงอยู่ในพอร์ตเสมอๆ ...เวลาจะเป็นเพื่อนที่ดีเสมอ หากเราลงทุนในหุ้นโกรท...
กลยุทธ์สำหรับนักลงทุนเบี้ยน้อยหอยน้อย คงมีแค่นี้ครับเท่าที่คิดออก :lol: ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นอื่นจะเสริมก็จะเป็นประโยชน์ครับ และที่ต้องขอย้ำคือกลยุทธ์ส่วนใหญ่ คงเหมาะสมกับนักลงทุนที่มีความรู้การลงทุนในระดับนึงแล้ว และจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ ถ้าถามว่ากลยุทธ์ข้อไหนที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคงเป็นข้อแรก ถ้าไม่มีข้อแรก ประเด็นอื่นๆก็จะไม่ตามมา
ผมและเพื่อนท่านอื่นๆอาจจะเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่นักลงทุนต้องเดินทางด้วยตัวเองครับ ระหว่างทางอาจจะมีความยากลำบาก มีอุปสรรค มีเพียงทัศนคติที่ถูกต้อง ความตั้งใจ และกำลังใจ จะทำให้เราไปถึงจุดหมายครับ มีบทกวีบทหนึ่ง นำมาฝากเป็นกำลังใจด้วยครับ
เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด...
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย...
พอมองเห็นรางราง อยู่ทางปลาย...
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ...
คำคมของเซียนหุ้นระดับโลก
ปีเตอร์ลิน กล่าวไว้ในหนังสือ beating the street ว่า
ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีการไหนเลือกหุ้นสุดท้ายสิ่งที่จะตัดสินว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวคือความสามารถในการเพิกเฉยต่อความกังวลกับเรื่องต่างๆในโลกได้ยาวนานพอที่จะทำให้การลงทุนของคุณ ประสบความสำเร็จ
สิ่งที่จะกำหนดชะตากรรมของนักลงทุนไม่ใช่ความเฉลียวฉลาดแต่เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ต่างหาก นักลงทุนขี้ตกใจจะถูกกดดันให้ออกจากตลาดในยามที่ตลาดเต็มไปด้วยข่าวร้าย ไม่ว่าพวกเขาจะเฉลียวฉลาดปานใดก็ตาม
–
ผมคิดว่าคำพูดนี้เป็นจริงมากในชีวิตการลงทุนจริงๆ ปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าการหาความรู้ทางการลงทุนจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับนักลงทุนทั่วไป แต่สิ่งที่ยากก็คือ การควบคุมจิตใจไม่ได้ “สติแตก” ในเวลาที่หุ้นลง หลายคนซื้อหุ้นได้ในราคาไม่แพงแต่ก็ขายหุ้นเหล่านั้นออกไปในราคาขาดทุนหรือแทบไม่ได้กำไร เพราะหุ้นเหล่านี้ลงไปหลังจากที่เขาซื้อ แม้ว่าเขาจะมั่นใจในพื้นฐานหุ้นแค่ไหนก็ตาม แต่เขาคิดว่าถ้าหุ้นลงแสดงว่าเขาคิดผิดเพราะน่าจะมีคนที่รู้ดีกว่าตัวเขาอยู่ที่กำลังขายหุ้นตัวนั้น อย่ากระนั้นเลย ละทิ้งทุกสิ่งที่เขาคิดแล้วโยนขายหุ้นตามไปเลยดีกว่า น่าจะสบายใจดี ปรากฏว่าในอีกครึ่งปีต่อมาหุ้นตัวนั้นก็ขึ้นไปถึง 70% และกำไรของหุ้นก็ออกมาตามคาดเสียด้วย ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากเคยเจอเรื่องแบบนี้ และผมเองก็เคยมีประสบการณ์ที่ขมขื่นแบบนี้มาแล้วเหมือนกัน
ความเห็นของผมคือ แม้ว่าคุณเข้าใจในพื้นฐานหุ้นมากๆ แต่ถ้าคุณ สติแตกง่าย คุณก็มีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินอยู่ดี
ต่อมาเป็นคำพูดของ ลิเวอร์มอ
-ลิเวอร์มอ กล่าวในหนังสือ how to trade in stock ว่า
ถ้าคุณอยากจะเป็นนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จจงขจัดความคิดเพ้อฝันออกไปจากหัวซะ ซึ่งความคิดพวกนั้นก็คือ ความคิดนั้นก็คือ ความคิดว่าคุณจะสามารถประสบความสำเร็จในการเก็งกำไรได้ตลอดเวลา ทุกวัน ทุกอาทิตย์ ลิเวอร์มอกล่าวว่า ผู้ที่มหกมุ่นกับการเก็งกำไรรายวันจะมองไม่เห็น trend ที่ใหญ่กว่านั้นและเมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มมีเทรนชัดๆ นักลงทุนเหล่านั้นจะไม่ได้ประโยชน์จากเทรนใหญ่เพราะเขาหมกมุ่นกับการหาประโยชน์รายวันมากเกินไป
คำกล่าวของลิเวอร์มอ น่าสนใจไม่น้อยเพราะ ลิเวอร์มอเป็นนักเก็งกำไรระดับโลก แต่เขาไม่ได้เก็งรายวัน ซื้อเช้าขายเย็น เมื่อนักลงทุนที่ชอบเทรดด้วยสโลแกนว่า เทรดหาค่ากับข้าว ดูเหมือนว่าคนที่ประสบความสำเร็จสูงนั้นจะมองเทรนที่เป็นหลักเดือนหลักปีมากกว่า วันหรืออาทิตย์ พวกเสี่ยๆในเมืองไทย บางคนก็บอกว่าปีนึงจะเทรดไม่กี่คนขอให้มั่นใจว่าทำกำไรได้แน่ชัวๆหน่อยค่อยเล่น ไม่เล่นตลอดเวลา
คำพูดสุดท้ายเป็นคำพูดของ buffet
ที่บอกว่าให้คิดซะว่าชีวิตนี้คุณซื้อหุ้นได้แค่ 20 ตัวก็พอ นั้นก็คือ ให้หวดต่อเมื่อเป็นวงสวิงที่ perfect เท่านั้น
ในชีวิตผมได้เจอกับเซียนหุ้นมาเยอะพอสมควร ผมสังเกตุว่าพวกเขาหลายคนที่รวยจากการเล่นหุ้น 50-100 เท่าใน 7-10 ปีย้อนหลังมานี้ เขาทำกำไรจากหุ้นไม่ถึง 10-12 ตัว ดูเหมือนแต่ละตัวพวกเขาถือกันเป็นปีหรือปีครึ่ง และได้แต่ละตัวเป็นเท่าๆกันทั้งนั้น ผมก็คิดว่าสิ่งที่บัฟเฟตพูดก็สะท้อนความเป็นจริงที่ประสบการณ์ผมได้เจอมาจริงๆ คือคนที่กำไรเยอะมากๆนั้น ไม่จำเป็นต้องได้มาจากหุ้นที่มากตัว แต่ได้จากไม่กี่ตัวแต่ตัวนึงเยอะๆ
การที่เราคิดว่าชีวิตนี้เราซื้อหุ้นได้ไม่กี่ครั้งจะทำให้การซื้อแต่ละครั้งมีความรอบคอบสูง ต้องมี mos สูงแต่ทำการบ้านหนักทำให้แต่ละครั้งที่ลงทุนมักจะไม่ค่อยผิดพลาด แต่กลับกันถ้าเราซื้อขายบ่อยมากเกินไป เรามักจะรู้พื้นฐานของหุ้นได้ไม่ละเอียดมาก และเราอาจไม่ได้ต่อราคามากเท่าไหร่ เพราะโอกาสที่ดีของการลงทุนจริงๆแล้วมีไม่ได้บ่อยนัก แต่ถ้าเราซื้อขายบ่อยมากๆ น่าจะสะท้อนว่าความรอบคอบของเราไม่มากนัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
อย่าปล่อยโอกาสดีๆหลุดลอยไปจากการทำการซื้อขายกับFBS FBS มอบเงินรางวัล $5 ให้แก่เทรดเดอร์ที่เปิดบัญชี «Cent» ริ่มการซื้อขายได้แล้วตอนนี้ ...
-
IQ Option เป็น Broker ที่โด่งดัง และมีหลายคนกำลังถามคำถามนี้ใน Pantip เพื่อหาข้อมูลในการเล่น option trading และหลายคนยังสงสัยว่า IQ opti...
-
คือ บัญชีเงินอีเล็คทรอนิคส์ หรือ e-currency อีกชนิดหนึ่ง สามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยน ระหว่างผู้ใช้ได้โดยตรงได้อย่างง่ายดาย (จำกัด...
-
เงื่อนไขการส่งเสริมการขาย "โบนัส 123": เปิดบัญชี "Bonus 123"; โบนัสจำนวน 123 เหรียญสหรัฐจะถูกโอนเข้าบัญชีโดยอัตโ...
-
การฝากและถอนเงิน การฝากและถอนเงิน สำหรับเทรดเดอร์ชาวไทยนั้นสามารถทำธุรกรรมการฝากและถอนเงินกับโบรกเกอร์ FBS ได้สะดวกมากขึ้น เพราะทางโ...
-
การสมัครเล่นหุ้นกับโบรคเกอร์ที่มีภาษาไทยมีระบบทดลองเล่น โปรแกรมฉลาดวิเคราะห์ช้วยเราทุกด้าน www.IQoption.com การเล่นหุ้นนั้นถือว...
-
FBS พื้นที่ส่วนบุคคล ( my.fbs.com ) เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการฝากเงินในบัญชีของคุณและเพื่อให้ถอน มีหลากหลายของการฝากเงินและตัวเลือกกา...
-
ทำไมต้องเลือก FBS? FBS มีความมั่นคงสูงมากได้รับรางวัลและการยอมรับจากทั่วโลกมากมาย สเปรดต่ำมาก มีความคล่องตัวสูง ระบบเสถียร รองรับการถอน...
-
วิธีสมัคร FBS อย่างละเอียด ศูนย์ให้ความช่วยเหลือ 0 4586 คลิกที่ เปิดบัญชีเทรด แล้วกรอกข้อมูลตามจริงให้ครบถ้วนดังตัวอย่าง ...
-
เพื่อป้องกันงเนของคุณ FBS ใช้ระบบธนาคารที่ทันสมัยที่สุด เพราะฉะนั้นคุณสามารถไว้ใจได้กับระบบป้องกันเงินของ FBS ที่มีให้คุณ ถอนเงินผ่านระบ...