เหตุผลที่ผม “เลิกดู” กราฟหุ้น (ด้วยตาเปล่า)

Trader
ว่ากันว่าถ้าคุณอยากจะเป็นนักเก็งกำไรที่เก่งกาจ คุณจะต้องฝึกๆๆๆ โดยเฉพาะกับการฝึก “ดูกราฟ” หุ้นให้ช่ำชอง อย่างไรก็ตามในบทความนี้ผมอยากจะแชร์เหตุผลบางอย่างที่ว่า เหตุใดในปัจจุบันผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการฝึก ดูกราฟ-ตีกราฟ-ลากเส้นกราฟ แบบดั้งเดิมมากสักเท่าไหร่นัก และทำไมผมจึงมักจะบอกทุกคนว่าผมนั้น “เลิก” ดูกราฟหุ้นมานานหลายปีแล้ว และต่อไปนี้ก็คือเหตุผลของผมครับ
“ฝึกดูกราฟ” สิ่งที่คุณไม่ควรทำและเชื่อมั่นมากจนเกินไป
ผมคงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการ “ดูกราฟ” หรือการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคแบบดั้งเดิม (Subjective Technical Analysis) นั้นถือได้ว่าเป็นศาสตร์แรกๆที่ผมได้เรียนรู้ในตลาดหุ้น และถือเป็นวิชา “ครู” ในการเล่นหุ้นของผมมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนั้น การดูฝึกกราฟด้วย “ตาเปล่า” นั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ผมไม่ค่อยอยากที่จะแนะนำให้ใครทำมันอย่างหนักหรือยาวนานอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเหตุผลนั้นไม่ใช่เพราะว่ามันจะทำให้คุณปวดตาหรือว่าการดูกราฟนั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด (เพราะอันที่จริงแล้วการดูกราฟด้วยตาเปล่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นหนทางในการเรียนรู้พฤติกรรมของตลาดและราคาหุ้นได้อย่างรวดเร็วที่สุดทางหนึ่งอีกด้วย)
แล้วถ้าอย่างนั้นทำไมผมจึงไม่แนะนำให้คุณ “ฝึกดูกราฟ” กันอย่างหนัก หรือหมกมุ่นกันจนหมกมุ่นเกินไปน่ะหรือครับ!?
คำตอบก็เพราะถึงแม้ว่าการฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าหรือการเรียนรู้วิชา Technical Analysis แบบดั้งเดิมนั้นจะช่วยให้คุณสามารถใช้สัญชาติญาณของคุณในการทำความเข้าใจกับตลาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ในอีกมุมหนึ่งแล้วกระบวนการประมวลผลแบบคิดลัดของสมองมนุษย์ (Heuristic Judgement Process) ที่เกิดขึ้นในขณะที่เราดูกราฟนั้นมักที่จะทำให้เราเกิดข้อผิดพลาดในการสรุปข้อมูลและผลลัพท์ไปได้เป็นอย่างมาก และมันก็มักที่จะทำให้คุณมีความเชื่อจนนำไปสู่การกระทำต่างๆที่จะทำให้คุณขาดทุนโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลยทีเดียว
โดยที่เหตุผลในแต่ละข้อต่อไปนี้ คือสาเหตุหลักๆที่ทำให้การฝึกดูกราฟอย่างหนักด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจก่อให้เกิดอันตรายกับพอร์ทโฟลิโอของคุณได้โดยคาดไม่ถึง ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่ผมอยากจะแชร์ให้อ่านกันเอาไว้ ถึงแม้ว่าผมจะเสี่ยงที่จะโดนนักดูกราฟหลายๆคนด่าและยำเละในบทความนี้ก็ตามครับ Open-mouthed smile
1. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่านั้นเป็นสิ่งที่คลุมเครือ
เหตผลอันดับแรกที่ผมคิดว่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดอ่อนของการดูกราฟด้วยสายตาหรือ Technical Analysis แบบดั้งเดิมได้อย่างง่ายที่สุดนั้น ก็คือความคลุมเครือของตัววิชาเอง รวมไปถึงความคลุมเครือที่จะเกิดจากการตีความของผู้ใช้
โดยหากคุณได้ลองนึกให้ดีถึงบทเรียนในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคเบื้องต้นเกือบทุกๆเล่มคุณจะพบว่า พวกมันก็มักจะประกอบไปด้วยหลักการของ Dow Theory, Price Pattern, Elliott Wave และอื่นๆซึ่ง … ถูกสังเกตและสร้างขึ้นมาจาก “กฎหลวมๆ” ที่ไม่ได้ให้ความหมายหรือระบุค่าตัวแปรไว้อย่างชัดเจน จนทำให้พวกเราทุกๆคนไม่สามารถที่จะตีความกราฟไปในทางเดียวกันได้ในทุกๆครั้ง
โดยที่เจ้ากฎหลวมๆของวิชา Technical Analysis แบบดั้งเดิมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นกราฟแบบ หัว, ไหล่, ตูด, ธง, ชามคว่ำ, ชามหงายและอื่นๆอีกมากมายนั้น ก็มักที่จะทำให้พวกเราทุกคนพร้อมที่จะมีข้ออ้างในการตัดสินใจและความลังเลใจอยู่บ่อยครั้งจนสูญเสียวินัยในการลงทุนไป เพราะเรามักจะมีข้อแก้ตัวเมื่อเราย้อนกลับมาดูความผิดพลาดของเราเสมอ (ยกตัวอย่างเช่น เรามักแก้ตัวว่ามองกราฟผิดรูปแบบไป) นี่จึงเป็นจุดอ่อนข้อแรกของการดูกราฟด้วยตาที่ผมอยากจะพูดถึงนั่นเอง
elliott-wave-theory
ภาพที่ 1 : Elliott Wave ทฤษฏีอีเลียทเวฟ หนึ่งในวิชาการวิเคราะห์หุ้นที่มีความคลุมเครือและมีข้อแม้รวมถึงข้อยกเว้นที่มากที่สุดของการดูกราฟ
2. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่าเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้
นอกจากที่การฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าจะเป็นสิ่งที่คลุมเครือมากๆแล้ว จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดก็คือมันอย่างที่สองก็คือ ความคลุมเครือจากกฎหลวมๆเหล่านี้ทำให้การสรุปผลและพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์หุ้นต่อยอดขึ้นไปนั้นเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากพวกมันขาดความชัดเจนในการที่เราจะนำไปพิสูจน์ถึงสิ่งต่างๆได้อย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง
เชื่อหรือไม่ว่าจุดอ่อนในข้อที่สองของการดูกราฟที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้นักเก็งกำไรระดับโลกหลายๆคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
“การดูกราฟดูตาเปล่าหรือ Technical Analysis แบบดั้งเดิมนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิด แต่เป็นสิ่งที่แย่กว่าผิดเสียอีก” (Subjective TA is not even wrong. It is worse than wrong)
เพราะเราไม่มีวันรู้เลยว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือผิดพลาดมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมันคลุมเครือจนไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้!
ดังนั้นแล้วการสรุปองค์ความรู้จากสังเกตพฤติกรรมของตลาดการฝึกนั่งดูกราฟด้วยตาเปล่าๆเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอ และอาจกลายเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในตลาดหุ้นในระดับ “ยุทธ์ศาสตร์” ได้เลยทีเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลข้องที่สองที่ทำให้ผมล้มเลิกแนวคิดในการฝึกดูกราฟไป โดยเฉพาะกับทฤษฎีกราฟซึ่งมีความคลุมเครืออยู่สูงไปโดยปริยายนั่นเองครับ
Note : เหตุผลในข้อนี้นั้นผมเหมารวมไปถึงการดู Indicator ต่างๆด้วยตาเปล่าด้วยเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลจากราคาหุ้นในอดีตอย่างซับซ้อนพิสดารสักแค่ไหน แต่การที่เรานำมันมาใช้โดยไม่เคยรู้เลยว่าแท้จริงแล้วประสิทธิภาพของเป็นอย่างไร มันก็ไม่ต่างจากการคิด “มโน” ไปเอง โดยอาศัยสัญชาติญาณ, ประสบการณ์ส่วนตัว และความเชื่อ อย่างที่นักดูกราฟหลายๆคนได้ทำผิดพลาดมาแม้แต่น้อย
James Simon Quote
ภาพที่ 2 : James Simon ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ชื่อดัง ที่มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยทบต้นกว่า 35% หลังหัก Performance Fee ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เราจะทดสอบแนวคิดทุกอย่างของเรากับข้อมูลของตลาดต่างๆในอดีต เพราะอดีตคือกุญแจที่ยอดเยี่ยมในการเข้าใจอนาคต แน่นอนว่าไม่ได้สมบูรณ์แบบ! แต่ความเป็นมนุษย์ของพวกเราคือพลังที่ขับเคลื่อนตลาด และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงภายในข้ามคืน ดังนั้นแล้วยิ่งคุณสามารถที่จะเข้าใจอดีตได้ดีเท่าไหร่ มันก็มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าคุณจะมีข้อมูลที่สำคัญมากๆในการที่จะเข้าใจถึงอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น”
3. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่าไม่อาจเอาชนะขีดจำกัดของสมองมนุษย์ (BRAIN LIMIT)
สำหรับเหตุผลในข้อที่สามหรือข้อสุดท้ายที่ทำให้ผมเลิกนั่งดูกราฟมานานแล้วก็คือ …
พวกเราทุกคนนั้นย่อมมีขีดจำกัดของสมองในการประมวลผลต่อข้อมูลต่างๆที่เกิดขึ้น(โดยเฉพาะในตลาดหุ้น) ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งขีดจำกัดทางสมองของแต่ละคน รวมไปถึงขีดจำกัดทางสมองของเผ่าพันธ์มนุษย์ โดยที่ขีดจำกัดต่างๆเหล่านี้ก็ได้เคยถูกนำมาวิจัยกันอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
งานทดลองที่ชี้ให้เห็นว่านักดูกราฟหุ้นที่เชี่ยวชาญนั้นไม่สามารถที่จะแยกแยะกราฟราคาจริงๆกับกราฟราคาปลอมๆซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการสุ่มโดยคอมพิวเตอร์ได้ (แต่เราสามารถใช้หลักสถิติช่วยแยกแยะได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล)
งานทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถที่จะสรุปผลและวิเคราะห์กราฟออกมาได้ต่างกัน ถึงแม้ว่ากราฟที่เราเห็นนั้นจะเป็นกราฟของหุ้นตัวเดิมๆในช่วงเวลาเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง โดยความไม่สม่ำเสมอในการประมวลผลเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม, อารมณ์ และความเหนื่อยล้าของสมอง
งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าสมองของเรานั้นถูกออกแบบมาเพื่อมองหารูปแบบบางอย่างอยู่เสมอ ซึ่งทำให้ในหลายๆครั้งเราทำการสรุปถึงรูปแบบบางอย่างขึ้นมาโดยที่มันไม่มีจริง หรือมีอยู่จริงแต่ไม่มีประโยชน์ในการทำกำไร
งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าการตัดสินใจของมนุษย์นั้นมักที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและความแปรปรวนเป็นอย่างสูงอยู่เสมอ (Highly Complex and Random) ซึ่งตลาดหุ้นนั้นถือเป็นที่ที่สถานการณ์ทั้งสองอย่างนั้นมารวมตัวกันอยู่ตลอดเวลา มันจึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงจากการขาดทุนในตลาดหุ้นได้เลยในระยะยาว เพราะถึงแม้ว่าคุณจะสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในตลาดด้วยการควบคุมสติ, สมาธิ และอารมณ์ของคุณได้ในขณะที่ทำการลงทุนอยู่ แต่สมองของเราก็ยังคงไม่สามารถที่จะทำการประมวลผลในสถานการณ์ที่ตัวแปรต่างๆมีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่อกันอย่างเป็นลูกโซ่เช่นในตลาดหุ้นได้ดีสักเท่าไหร่ (Configural Problem) มันจึงมักนำมาซึ่งความผิดพลาดในการตัดสินใจของเราอยู่เสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Shepards Tables
ภาพที่ 3 : ภาพ Shepard’s Tables แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างความผิดพลาดในการประมวลผลของสมองจากข้อมูลที่ถูกส่งมาจากสายตาของเรา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในขีดจำกัดในการประมวลผลของสมองมนุษย์ โดยที่ในภาพนั้นเราจะเห็นด้านยาวของโต๊ะทั้งนั้นสองยาวไม่เท่ากัน ทั้งที่จริงแล้วพวกมันมีความยาวเท่าๆกัน
แต่การดูกราฟก็ไม่ได้ไร้ประโยชน์
สุดท้ายนี้ ถึงแม้ผมจะบอกว่าผมเลิกดูกราฟด้วยตาเปล่าหรือเลิกฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าไปนานแล้วก็ตาม แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันจะไร้ประโยชน์ไปเสียทีเดียว
เพราะอันที่จริงแล้วส่วนหนึ่งแนวคิดต่างๆที่ผมได้เคยนำมาทดสอบและปรับใช้อย่างเป็นระบบในการลงทุน (Backtesting and Implementation) ก็ถือได้ว่าเป็นผลผลิตของประสบการณ์และความทรงจำจากการนั่งฝึกดูกราฟเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมงอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วประโยชน์อย่างหนึ่งของการฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าจึงเป็นการฝึกการเรียนรู้พฤติกรรมของราคาหุ้นในเบื้องต้นที่รวดเร็วและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ผมเองเห็นว่าการฝึกดูกราฟและใช้เพียงความรู้สึกและวิจารณญาณของเราเพื่อสรุปผลลัพท์หรือสร้างทฤษฎีใดๆในการเล่นหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีอันตรายและความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตลาดได้เป็นอย่างมาก คุณจึงควรที่จะพยายามทดสอบแนวคิดของคุณอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วยกันอยู่เสมอ เพราะถึงแม้ว่ามันจะไม่อาจรับประกันถึงผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของคุณได้ แต่มันก็พอที่จะรับประกันได้ว่าคุณจะไม่เสียเวลาและเงินทองไปกับแนวคิด, ความเชื่อ และกลยุทธ์การลงทุนที่คุณเชื่อว่ามันอาจมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จริงแล้วพวกมันอาจไม่เคยสร้างผลตอบแทนในอดีตได้เลยก็เป็นได้
… และนี่ก็คือเหตุผลหลักๆที่ว่าทำไมผมจึงเลิกดูกราฟ, ตีกราฟ และฝึกดูกราฟ (ด้วยตาเปล่า) ไปโดยปริยายนั่นเองครับ!

ความเข้าใจผิด 10 ประการเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ

ในฐานะของนักลงทุนคนหนึ่งที่วนเวียนอยู่กับการค้นคว้าวิจัยกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนมาหลายปี ผมเองยอมรับว่าค่อนข้าง “เพลีย” พอสมควร เวลาที่มีใครกล่าวหาว่าร้ายหลักการลงทุนอย่างเป็นระบบแบบ Quantitative and Systematic Trading โดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงความเข้าใจผิดหลายๆอย่างเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ ที่ผมมักจะได้ยินมาหรืออ่านมาอยู่บ่อยๆครับ

นิยามของการลงทุนอย่างเป็นระบบ และระบบการลงทุน


เป็นธรรมเนียมที่ผมจะต้องขอจำกัดความสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงกันเสียหน่อยนะครับ เพื่อไม่ให้ความหมายของพวกมันหลุดกรอบกันออกไป โดยสำหรับผมแล้ว
“การลงทุนอย่างเป็นระบบ” (Quantitative Trading-Investing) คือการลงทุนด้วยกฎระเบียบต่างๆที่ชัดเจน ตามหลักฐานข้อเท็จจริงและสถิติตที่พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ หรือในอีกแง่หนึ่งนั้น
“ระบบการลงทุน” (Quantitative Trading-Investing System) ก็คือ ชุดของกฎระเบียบต่างๆในการลงทุนที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้ถูกออกแบบมาโดยการค้นคว้าวิจัย, สรุป และยืนยันผล ตามหลักสถิติและวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ
และนี่ก็คือนิยามสั้นๆกระชั้บๆก่อนที่ผมจะพูดถึงความเข้าใจผิดต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบกันต่อไปครับ

1. การลงทุนตามระบบใช้ไม่ได้จริง เพราะตลาดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ


Answer : แน่นอนครับว่าตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (และนักออกแบบระบบทุกคนก็รู้ดี) แต่การเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “แก่น” ของพฤติกรรมตลาดนั้นก็มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (ยกตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆของทางตลาดหลักทรัพย์ อาทิเช่น การกำหนดราคา Ceiling-Floor ใหม่ หรือ การเปลี่ยนแปลงขนาดของ Spread ราคา) ซึ่งถ้าให้พูดตรงๆเลยก็คือหากมีการเปลี่ยนแปลงแบบ “สุดขั้ว” ในโครงสร้างของตลาดแบบนี้ ระบบการลงทุนที่ใช้ประโยชน์จากกฎหรือโครงสร้างต่างๆของตลาด เหล่านั้นก็อาจจะต้องพังลงอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตลาดนั้น มักที่จะอยู่ในลักษณะการเปลี่ยนแปลงในชั้น “เปลือก” ซึ่งมักที่จะเกิดขึ้นโดยอารมณ์ ความรู้สึก และความเชื่อของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดเอง โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกควบคุมโดยสันดานและสมองของมนุษย์ ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะๆ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของ Momentum นั้นถูกค้นพบมาเป็นเวลาร้อยๆปีแล้วก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เช่นเดิม  ดังนั้นแล้ว ระบบการลงทุนที่ออกแบบมาดีและได้รับการดูแลอยู่เสมอ จะสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ได้อย่างไม่ยากนัก เนื่องจากพวกมันจะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระดับเปลือกได้อยู่แล้วเป็นอันดับแรกนั่นเองครับ

image

ภาพที่ 1 : แสดงให้เห็นผลลัพท์ของระบบ Mangmao ATH ซึ่งเป็นระบบการลงทุนรูปแบบหนึ่งในเชิงของกลยุทธ์ Trend Following โดยจะเห็นได้ว่ามันยังคงสามารถที่จะปรับตัวและเอาชนะตลาดได้ในทั้งช่วงอดีตและปัจจุบันของตลาด


2. การลงทุนอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ได้กำไร


Answer : อาจจะครับ! เพราะการลงทุนอย่างเป็นระบบไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้รับผลกำไรในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่การลงทุนอย่างเป็นระบบจะสามารถการันตีให้กับคุณได้ก็คือ มันจะทำให้คุณลงทุนตามหลักการ และหลักฐานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับตลาดในอดีตที่ผ่านมาต่างหาก โดยมีเหตุผลมาจากหลายๆอย่าง อาทิเช่น
– ความผิดพลาดจากการวิจัยและออกแบบระบบการลงทุน
– โครงสร้างของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอย่างมีนัยยะสำคัญ
– พฤติกรรมของผู้เล่นส่วนใหญ่หรือผู้เล่นที่มีผลกับตลาดในอนาคตนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงที่คุณควรต้องทำความเข้าใจให้ดี และยอมรับให้ได้ก่อนเริ่มต้นลงทุนด้วยระบบการลงทุนต่างๆครับ

3. การลงทุนอย่างเป็นระบบเหมาะสำหรับคนโง่ หรือคนที่ไม่รู้เรื่องการลงทุน


Answer : การจะเป็นนักลงทุนที่สามารถทำกำไรในตลาดได้ในระยะยาวนั้นเราไม่สามารถเป็นคนโง่ หรือโง่ที่สุดในตลาดได้ครับ! สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็คือ การลงทุนอย่างเป็นระบบนั้นกลับต้องอาศัยความเข้าใจในหลายๆด้านเป็นอย่างดี อาทิเช่น หลักของการลงทุน, พฤติกรรมของกลยุทธ์การลงทุนในลักษณะต่างๆ, หลักสถิติ และเทคโนโลยีต่างๆซึ่งอาจมีผลดีและผลเสียกับการลงทุนอย่างเป็นระบบของเราครับ
สาเหตุก็เนื่องมาจากมันจะเป็นไปไม่ได้เลยในการที่เราจะสามารถยึดมั่นต่อหลักและวิธีการลงทุนของระบบการลงทุนที่เรากำลังใช้อยู่ได้อย่างยาวนาน หากว่าเราขาดความเข้าใจต่อพฤติกรรมของมัน และนั่นก็มักจะทำให้เราเกิดความคาดหวังที่ไม่สมจริง จนทำให้ต้องล้มเลิกการลงทุนตามระบบนั้นๆไปในที่สุด

Mangmao ATH 2004-2007

ภาพที่ 2 : แสดงให้เห็นผลตอบแทนของระบบ Mangmao ATH แบบ Close-Up ในช่วงปี ค.ศ. 2004-2007 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดโดยรวมหรือ SET Index ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก และนั่นทำให้ถึงแม้ว่าระบบจะสามารถเอาชนะผลตอบแทนของตลาดได้ แต่มันก็มีช่วง Flat Period จนพอร์ทการลงทุนเกิด Drawdown กว่า 20% และไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ยาวนานถึง 27.35 เดือน (2 ปีกว่า) ซึ่งสามารถที่จะถีบนักลงทุนที่ไร้ความเชื่อมั่นและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบและกลยุทธ์ชนิดนี้ออกไปได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณคิดว่าระบบมันย่ำแย่มากแล้วล่ะก็ สิ่งที่น่าสนใจก็คือผลตอบแทนของดัชนี SET Index มี Drawdown กว่า 26.75% และมีช่วง Flat Period ยาวนานกว่า 42.4 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าใครที่เคยลงทุนมานานเพียงพอจะนึกออกว่าช่วงปีสองปีนั้นตลาดน่าเบื่อแค่ไหน

4. การลงทุนอย่างเป็นระบบตามหลักสถิติเป็นเรื่องไร้สาระ


Answer : เรื่องที่ไร้สาระกว่าคือการที่คนพูดอย่างนี้มักไม่รู้ว่าหลักวิชาการลงทุนที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่ได้ถูกพิสูจน์และยืนยันตามกระบวนการทางสถิติมาแล้วทั้งสิ้นครับ!
ยกตัวอย่างเช่น องค์ความรู้ต่างๆในสาขาวิชาการเงินการลงทุนหลายๆอย่าง เช่นทฤษฎี Modern Portfolio Theory ก็เกิดขึ้นมาจากการตั้งสมติฐาน, เก็บข้อมูล, การสร้างแบบจำลองทางการเงิน และสรุปผลลัพท์ด้วยสถิติ จนถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในกองทุนต่างๆทุกวันนี้
หลักการลงทุนเน้นคุณค่าด้วยปัจจัยพื้นฐาน ก็เกิดขึ้นโดยการสังเกตุ, ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับตัวแปรทางปัจจัยพื้นฐานต่างๆ, การเก็บข้อมูล และสรุปผลวิจัยจากข้อมูลทางสถิติ ของ เบนจามิน เกรแฮม จนสืบทอดและถูกพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นแนวทางการลงทุนเชิงคุณค่า (Value Investing) สายหลักของโลกใบนี้
ส่วนหลักการลงทุนตามแนวโน้มก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากการค้นพบปรากฏการณ์ของ Momentum ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็มีงานวิจัยทางวิชาการอยู่มากมายที่ได้ทำการทดสอบวิจัยและสรุปผลทางสถิติแล้วว่าปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและสามารถหาช่องว่างของตลาดเพื่อการทำกำไรได้
พูดง่ายๆก็คือ อะไรก็ตามที่คุณใช้การสังเกตจากอดีต, เก็บข้อมูล และวิจัย พวกมันก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับหลักการทางสถิติทั้งนั้นแหละครับ!

image
image

ภาพที่ 3-4 : ตัวอย่างหน้าแรกของบทสัมภาษณ์ เบนจามิน เกรแฮม เกี่ยวกับแนวคิดและระบบการลงทุนที่เรียบง่ายของเขาในนิตยสาร Medical Economics เมื่อปี ค.ศ. 1976 (หนังสือ The Intelligence Investor ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1949) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการลงทุนอย่างเป็นระบบเชิง Quantitative Investing ของเขาออกมา โดยเขาได้กล่าวไว้ว่ามันสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเป็นสองเท่าของดัชนีดาวโจนส์จากการทดสอบย้อนหลังกลับไปกว่า 50 ปี

5.ผลลัพท์ของการทดสอบย้อนหลังเป็นเรื่องไร้สาระ


Answer : หลายคนให้เหตุผลว่าการทดสอบกลยุทธ์การลงทุนย้อนหลังนั้นขาดความสมจริงเกินไป เพราะอาจไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของค่าคอมมิสชั่น, ผลกระทบของการซื้อขายที่มีต่อตลาด และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบย้อนหลังอย่างสมจริง และยังอาจเกิดขึ้นจากความบังเอิญได้อีกด้วย ซึ่งในอนาคตนั้นแน่นอนว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นก็มีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนไปในระดับหนึ่ง
ผมเห็นว่าจริงๆเรื่องนี้มันก็เหมือนกับคนที่เห็นกำแพงแล้วบอกว่าไม่มีทางไป แทนที่จะหาวิธีการปีนข้ามหรือเดินอ้อมกำแพงนั้นๆเพื่อไปสู่จุดหมายครับ เพราะความจริงแล้วในทุกวันนี้มีเทคนิคมากมายหลายอย่างที่เราจะสามารถนำมาช่วยในการประเมิณผลของผลการทดสอบให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเราสามารถกำหนดค่าคอมมิสชั่น, ความคลาดเคลื่อนของราคาในการซื้อขาย (Slippage), กฎระเบียบต่างๆของตลาดนั้นๆ, การใส่ผลกระทบของขนาดการซื้อขายหุ้นในตลาด (Market Impact) หรือแม้แต่การประมาณการณ์ผลตอบแทนและความเสี่ยงด้วยเทคนิคการ Simulation ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ยากเย็นนักด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ต่างๆ สรุปแล้วผมเห็นว่านี่ไม่ใช่ประเด็นที่จะชี้ว่าการทดสอบหรือวิจัยกลยุทธ์การลงทุนย้อนหลังเป็นเรื่องที่เพ้อฝันเกินความเป็นจริง
image

ตารางที่ 1 : ตัวอย่างผลลัพท์ของการประมาณการผลตอบแทนของระบบหลังผ่านการทำ Stress-Test ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการทดสอบแบบสุดขั้ว ด้วยการใช้เทคนิค Monte Carlo Simulation (Bootstrapping-with-Replacement) ซึ่งช่วยให้เราคาดการณ์ถึงผลลัพท์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วยความน่าจะเป็นในระดับหนึ่ง

6. ระบบการลงทุนมีไว้เพื่อช่วยให้รายใหญ่ปั่นหุ้นและปล่อยของ


Answer : อีกหนึ่งความเชื่อที่ฝังอยู่ในใจหลายคนที่ไม่เข้าใจในหลักการออกแบบระบบการลงทุนก็คือเรื่องของ “ทฤษฎีสมคบคิด” ซึ่งเชื่อว่ามันถูกออกแบบและเผยแพร่มาเพื่อให้คนส่วนใหญ่เป็น “เหยื่อ” ของระบบการลงทุนนั้น
ความจริงแล้วระบบการลงทุนที่ดีต้องออกแบบตามกลไกทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรมของผู้เล่นส่วนใหญ่ในตลาดที่มักเกิดขึ้นซ้ำๆมาเป็นเวลายาวนานครับ ดังนั้นพูดสั้นๆก็คือหากว่าคุณคิดว่าจะสามารถหลอกล่อคนส่วนใหญ่ด้วยการสร้างตลาดและสวนระบบการลงทุนที่ดีนั้น ในทางกลับกันแล้วคนที่พยายามทำเช่นนั้นกำลังสวนตลาด หรือ สวนพฤติกรรมตลาดอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น การพยายามทุบหุ้นที่มีพื้นฐานดีในขณะที่เศรษฐกิจกำลังดีวันดีคืน หรือแม้แต่การใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อที่จะควบคุมราคาให้วิ่งไปโดน Buy-Sell Signal ของระบบการลงทุนซึ่งมีอยู่เป็นร้อยๆรูปแบบในตลาด ซึ่งผลในระยะยาวของมันก็คงจะไม่น่าพิสมัยนัก เพราะไม่เช่นนั้นแล้วผลการทดสอบย้อนหลังของระบบการลงทุนที่ยั่งยืนเหล่านี้ก็ควรที่จะพังทลายไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

7. ระบบการลงทุนเป็นการซื้อขายตาม Technical Analysis และมีไว้เพื่อการเก็งกำไรระยะสั้น และสามารถใช้ได้ในเวลาที่ตลาดมีแนวโน้มเท่านั้น


Answer : อย่างที่ผมได้ชี้แจงไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า ระบบการลงทุนคือ กลุ่มหรือชุดของกฎในการลงทุนซึ่งมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน ดังนั้นแล้วมันจึงไม่ได้หมายถึงวิธีการหรือสไตล์การลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งเลย! การลงทุนอย่างเป็นระบบนั้นถือเป็น “ประเภทของการกระบวนการในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนต่างหาก” (Trading-Investing Judgement Process) ซึ่งไม่ได้มีข้อบังคับว่าคุณจะต้องลงทุนด้วยหลักการของ Technical Analysis เท่านั้น
อันที่จริงแล้ว หากว่าคุณสามารถรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้มากเพียงพอ คุณก็สามารถที่จะทำการทดสอบวิจัยและออกแบบระบบการลงทุนมาใช้งานได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลราคาย้อนหลัง (Price Data), ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานย้อนหลัง (Fundamental Data) ,ข้อมูลเหตุการณ์ที่กระทำโดยบริษัทจดทะเบียนฯ (Corporate Action) หรือแม้แต่ข้อมูลต่างๆที่ล่องลอยอยู่ในอินเตอร์เนทต่างๆ ดังนั้นแล้วสรุปก็คือ ถ้าคุณหาข้อมูลและเรียบเรียงให้อยู่ใน Format ที่นำมาทดสอบได้ มันก็สามารถนำมาวิจัยและออกแบบเป็นระบบได้ทั้งสิ้น
ส่วนจะถามว่าทำไมเราจึงมักที่จะเห็นว่าระบบการลงทุนส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของการใช้ Technical Analysis หรือมักเป็นการนำเอาข้อมูลด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นย้อนหลังมาทำ และทำไมจึงมักที่จะทำกำไรได้เมื่อตลาดมีแนวโน้มที่ชัดเจน สาเหตุก็เป็นเพราะข้อมูลราคาเป็นข้อมูลที่หาง่ายที่สุด, มีความสมบูรณ์ และเอื้ออำนวยต่อการนำมาทดสอบมากที่สุด และปรากฎการณ์ที่ช่วยให้เราทำกำไรจากตลาดได้เป็นอย่างดีคือปรากฎการณ์ของแนวโน้มหรือ Momentum Anomaly นั่นเอง นอกจากนี้แล้วมันยังมักที่จะให้ Drawdown ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการถือยาวซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนตามระบบหลายๆคนไม่สามารถที่จะรับได้นั่นเองครับ

ภาพที่ 5 : ผลตอบแทนของระบบการลงทุนชนิดหนึ่ง ซึ่งอิงจากข้อมูล Google Trends data ที่มีการค้นหาเกี่ยวกับคำว่า Debt

8. การลงทุนตามระบบจำเป็นต้องใช้ร่วมกับการพิจารณาปัจจัยและการวิเคราะห์พื้นฐานอื่นๆ ก่อนที่จะทำการลงทุนในแต่ละครั้ง


Answer : ข้อนี้อันที่จริงแล้วเรามีทางเลือกที่จะทำเช่นนั้นก็ได้หรือไม่ทำก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามโดยมาตรฐานแล้ว ผู้ที่ออกแบบระบบการลงทุนมักเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากตามหลักของการออกแบบระบบการลงทุนที่ดีนั้น มันควรที่จะต้องทำให้กฎระเบียบต่างๆนั้นมีความสมบูรณ์และคลอบคลุมการปฎิบัติการลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (นักออกแบบระบบหลายคนคิดว่าถ้าต้องใช้วิจารณญาณส่วนตัวเพิ่มเติมอีก จะนั่งวิจัยและออกแบบไปทั้งวันเพื่ออะไร) ซึ่งในปัจจุบันมีกองทุนในระดับโลกหลายกองที่ทำการลงทุนด้วยระบบการลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จ และสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีเป็นอย่างมากออกมา โดยเราสามารถที่ะจะแบ่งเกรดความเข้มข้นของการนำไปปฎิบัติใช้ได้ดังนี้
- Algorithmic Trading คือการควบคุมกระบวนการลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จด้วยคอมพิวเตอร์ ตามชุดคำสั่งหรือกฎในการลงทุนอย่างสมบูรณ์แบบ มักพบเจอในระบบที่ต้องใช้ข้อมูลที่เยอะมากๆ, มีการซื้อขายที่เร็วมากๆและสั้นมากๆจนมนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือเป็นกองทุนที่ต้องการสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการตัดสินใจต่างๆอยู่เสมอ
- Mechanical Trading คือการควบคุมกระบวนการลงทุนด้วยตัวบุคคลอย่างเข้มงวด ด้วยกฎในการลงทุนที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุมกิจกรรมในการลงทุนต่างๆให้มากที่สุด มักพบเจอในกองทุนหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีความสามารถในการวิจัยและออกแบบระบบการลงทุน แต่ติดปัญหาในเรื่องของสภาพแวดล้อมและกฎเกณฑ์ต่างๆของตลาด
- Evidence Based Trading คือการใช้วิจารณญาณร่วมกับผลงานวิจัยและทดสอบย้อนหลังในตลาด มักถูกนำไปใช้ในกองทุนที่ยังอาศัยพึ่งพาความสามารถของเทรดเดอร์ในกองทุนเป็นหลัก
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณภาพของผลการตอบแทนในการลงทุนนั้นไม่สามารถที่จะการันตีได้ด้วยลำดับความเข้มข้นของการนำไปปฎิบัติใช้นะครับ เพราะในแต่ละขั้นของความเข้มข้นนั้นก็ย่อมมีความยากง่าย และความสะดวกที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและตลาดในแต่ละแห่งครับ

9. ระบบการลงทุนง่ายๆใช้ได้ผลดีไม่เท่าระบบการลงทุนที่ซับซ้อน


Answer : คนส่วนใหญ่เชื่อว่าระบบการลงทุนอันลึกล้ำซับซ้อนที่ต้องพึ่งพาข้อมูลในการตัดสินใจหลายร้อยอย่าง หรือต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในตลาด
น่าเสียดายว่าความเชื่อนี้ไม่เคยมีหลักฐานงานวิจัยใดๆมารองรับเลยสักนิด! ซึ่งอันที่จริงแล้วกลับมีงานวิจัยบางชิ้นที่ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มากเกินไปกลับที่จะทำให้คุณภาพและความสม่ำเสมอของการตัดสินใจในระยะยาวนั้นลดลงเสียด้วยซ้ำ
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆว่า หากระบบนั้นต้องพึ่งพาข้อมูลที่เยอะจนเกินไป ตัวแปรต่างๆทั้งที่สำคัญมากและสำคัญน้อยมักจะถูกลดความสำคัญลงโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้แล้วมันยังเป็นการยากที่จะตรวจสอบได้ว่าตัวแปรใดๆคือตัวปัญหาของระบบนั้นๆในช่วงเวลาหนึ่ง อีกทั้งระบบการลงทุนที่ซับซ้อนมากๆยังมักมีความเสี่ยงต่อการ Overfitting Data หรือการออกแบบระบบซึ่งจับรายละเอียดยิบย่อยที่ไม่ใช้หลักสำคัญในฐานข้อมูลมากเกินไป จนทำให้ระบบการลงทุนพังทลายลงเมื่อตลาดเปลี่ยนแปลงในอนาคตเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นแล้ว ความยาก-ง่ายซับซ้อน ความล้ำลึกของเทคโนโลยี หรือความแปลกประหลาดของกลยุทธ์การลงทุน จึงไม่ใช่ปัจจัยที่คุณควรให้ความสนใจจนมากเกินไปครับ (ผลกำไรสูงๆเว่อร์ๆก็ไม่ใช่ตัวยืนยันความเสถียรยั่งยืนของระบบเช่นกันครับ)

10. ระบบการลงทุนไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ เพราะถ้าทุกคนใช้ระบบเดียวกันระบบเดียวกัน แล้วมันจะเป็นอย่างไร!?


Answer : เรื่องนี้ผมได้เคยอธิบายไปในหลายๆโพสท์เก่าๆเอาไว้แล้วว่ามันเป็นไปได้ยากมากๆ สาเหตุก็เพราะ …
– คนเรามีความเชื่อและศรัทธาที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วน ขนาดระบบ Mangmao All Time High ที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ “แมงเม่าคลับ” ยังไม่มีใครคิดที่จะเอาไปใช้กันตรงๆเป๊ะๆตามต้นฉบับเลยครับ เพราะมันดู “ง่าย” เกินไป จนทุกคนคิดว่าต้องเอาไปปรับแต่งมันเสียหน่อย
– คนเรามีความสามารถในการแบกรับความเสี่ยงที่ต่างกัน บางคนชอบเสี่ยง บางคนไม่ชอบ บางคนทนกับความผันผวนได้มาก บางคนทนกับความผันผวนได้น้อย ดังนั้นยากมากๆที่ทุกคนจะทนใช้ระบบหรือกลยุทธ์เดียวกันได้ตลอดไป
– กลยุทธ์หรือระบบการลงทุนที่ยั่งยืนส่วนใหญ่ง่ายที่จะเข้าใจแต่ยากที่จะทำ สาเหตุเพราะช่องว่างในการทำกำไรจากตลาด มักเกิดจากความไร้เหตุผลของผู้เล่นส่วนใหญ่ในตลาด และมันก็มักจะเกิดขึ้นในจุดที่ยากที่สุดในการตัดสินใจทำอะไรลงไปได้อย่างมีเหตุผลอยู่สม่ำเสมอ เช่น การซื้อหุ้นเมื่อเกิด Panic, การซื้อหุ้นเมื่อมันทำ All-Time High หรือแม้แต่การอยู่เฉยๆได้เป็นเดือนๆปีๆ
– ระบบการลงทุนที่ยั่งยืนส่วนใหญ่มีกลไกในการ “ถีบ” คนส่วนใหญ่ออกไปโดยอัตโนมัติ เช่น Win Rate ต่ำ, Maximum Drawdown สูง, ความผันผวนระหว่างการลงทุนสูง หรือแม้แต่ช่วง Flat Time ที่พอร์ทจะอยู่นิ่งๆนานมากๆ สิ่งเหล่านี้สามารถถีบแมงเม่าส่วนใหญ่ออกไปได้ในเวลาไม่นานนัก (ต่อให้ใช้ Robot มา Automated ให้ก็ไม่ใช่ว่าจะทนเรื่องพวกนี้ได้ง่ายๆครับ)
– คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถลงทุนอย่างเป็นระบบ และมีวินัยอย่างสม่ำเสมอได้ เพราะการลงทุนอย่างเป็นระบบต้องอาศัยความเข้าใจในศาสตร์หลายๆอย่างเป็นอย่างดี เช่น วิชาการลงทุน, วิชาสถิติ, การเขียนโปรแกรม รวมไปถึงความเข้าใจต่อ Profile ของระบบการลงทุนนั้นๆในช่วงเวลาต่างๆของตลาดเป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นแล้วมันจึงเป็นไปได้ยากมากๆที่คนส่วนใหญ่จะสามารถลงทุนอย่างเป็นระบบได้อย่างมีวินัยยาวนาน

image

ตารางที่ 2 : แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนรายเดือนและรายปีของระบบ Mangmao ATH ภายใต้การทดสอบอย่างเข้มงวดในเวลากว่า 25 ปี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพวกมันมีทั้งช่วงเวลาที่กำไรและขาดทุนสลับกันไป นอกจากนั้นแล้วยังมีช่วงเวลาที่ผลตอบแทนเป็น 0 หรือไม่ได้ทำการลงทุนนานหลายเดือนติดต่อกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความยากในเชิงปฎิบัติจนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจทำตามกลยุทธ์การลงทุนที่แสนจะเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพเหล่านี้ได้
และทั้งหมดนี้ก็เป็นความคิดที่ผมอยากจะแชร์ให้เพื่อนๆที่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบได้อ่านกัน หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ
ปล. ส่วนใครที่ถามว่าแล้วมีใครที่รวยจากการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบตามหลักสถิติบ้างไหม ขอให้ไปลองไล่อ่านโพสท์เก่าๆ หรือไปหาหนังสือแมงเม่าคลับดูมาอ่านดูนะครับ ผมขี้เกียจจะเขียนใหม่อีกรอบแล้วครับ ฮ่าๆ :D

คำคมของเซียนหุ้น(ควรอ่านใว้)

บันไดของการลงทุน Value Way            

ถ้าเปรียบเทียบการลงทุนเหมือน "การปีนบันได" ที่ต้องเริ่มจากขั้นแรกก่อนที่จะขึ้นไปขั้นต่อๆ ไป เราสามารถแบ่งระดับการลงทุนของแต่ละคนได้ 7 ระดับดังต่อไปนี้
          

ระดับศูนย์: ไร้ระดับ (Non-Existent)

          
คนที่อยู่ในขั้นนี้เรียกว่า ไม่มีความรู้เรื่องการเงินเอาเสียเลย ไม่มีทั้งเงินเก็บและเงินลงทุนแต่อย่างใด เรียกว่ามีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมด ถ้าถามพวกเขาว่าพวกเขามีปัญหาอะไร จะได้คำตอบว่าเพราะหาเงินได้น้อยเกินไป คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่าถ้าพวกเขาหาเงินได้มากกว่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จริงๆ แล้วพวกเขาไม่เข้าใจว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหาเงินได้ไม่พอ แต่ปัญหาเกิดจากนิสัยการใช้จ่ายเงินเกินตัวของตนเองมากกว่า
         

ระดับหนึ่ง: ช่างกู้ (Borrower)

         
 ดูๆ ไปแล้ว พวก"ช่างกู้" มักจะมีสถานะทางการเงินแย่กว่าพวก"ไร้ระดับ"เสียอีก คนอยู่ในระดับนี้มักจะใช้เงินที่หาได้ไปซื้อนู้นซื้อนี่จนหมด เรียกว่าใช้เงินเดือนชนเดือน ถ้ามีเงินไม่พอใช้ วิธีแก้ปัญหาของชนกลุ่มนี้ก็คือ "กู้เพิ่ม" ถ้าสมัครเครดิตการ์ดได้อีกหลายๆ ใบเพื่อเอาเงินบัตรใหม่มาหมุนจ่ายหนี้บัตรเดิมได้ ดูจะเป็นวิธีการที่วิเศษสุดๆ รวมทั้งการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ หรือเงินกู้ยืมจากญาติพี่น้องก็เป็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาทางการเงินของคนกลุ่มนี้  ไม่จำเป็นว่า ปัญหาจะเกิดเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น คนที่มีรายได้สูงแต่หาเงินได้ไม่พอใช้จ่ายก็อาจจะตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วมหัวได้เช่นเดียวกัน
          พวก"ช่างกู้"มักจะพบว่าตนเองตกอยู่ในวังวนของหนี้สินเมื่อไม่มีหนทางให้กู้เพิ่มเติมได้อีกแล้ว เมื่อถึงจุดนั้น ส่วนใหญ่จะหมดหวังและจบลงในสภาพฐานะทางการเงินล้มเหลว ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงนิสัยการใช้จ่ายของตนเองแล้ว โอกาสที่จะ"ล้มละลาย"มีอยู่สูงทีเดียว
          

ระดับสอง: ช่างเก็บ (Saver)

         
 "ช่างเก็บ" มักจะเก็บออมเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ เงินที่เก็บได้ก็มักจะฝากเอาไว้ในธนาคารที่มี "ความเสี่ยงต่ำ'  ถึงต่ำที่สุด เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากประจำ คนกลุ่มนี้มักจะเก็บเงินเอาไว้เพื่อ "ใช้จ่าย" มากกว่านำไป "ลงทุน" เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือ ซื้อเครื่องเสียงชุดใหม่ ฯลฯ
          พวกเขาไม่ชอบ"ความเสี่ยง" แม้แต่นิดเดียว วิธีการลงทุนที่เยี่ยมยอดของคนกลุ่มนี้ก็คือ การซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือฝากเงินไว้กับธนาคารที่เขามั่นใจได้ว่าเงินต้นไม่มีวันลดลง ซึ่งในความเป็นจริง พวกเขาไม่เข้าใจว่าผลตอบแทนจากเงินฝากธนาคารที่แท้จริงนั้นติดลบ เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับ ในระยะยาวแล้วเงินออมที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคต เมื่อถึงคราวเกษียณ พวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือเงินบำเหน็จบำนาญในการเลี้ยงชีพเป็นหลัก
          

ระดับสาม: นักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor)

         
 นักลงทุนประเภทนี้ รู้สึกว่าตนเองมีความจำเป็นจะต้องลงทุนบ้าง ส่วนใหญ่มักจะลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ พูดได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีการศึกษาดี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม"คนชั้นกลาง"ของประทศ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง"การลงทุน"แล้ว คนกลุ่มนี้เรียกว่าแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการเงินแต่อย่างใดหรือถ้ามีก็มีน้อยมาก
          
          นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทหนึ่งเรียกว่า พวกชอบอยู่ในกระดอง (Gone-into-a-shell Passive Investor) คือ กลุ่มคนที่มักจะคิดอยู่เสมอว่า ตนเองไม่มีวันที่จะเข้าใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้
          คำพูดส่วนใหญ่ของคนในกลุ่มนี้ที่มักจะได้ยินก็คือ...
          "ผมหรือดิฉันไม่เก่งเรื่องตัวเลข, มันยุ่งยากเกินไป,  บริษัทและผู้จัดการกองทุนดูแลผลประโยชน์ได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง, ฉันยุ่งจนไม่มีเวลาคิดเรื่องลงทุน ฯลฯ"
          ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเพียงคำแก้ตัวเพื่อให้ตัวเองปลอดจากความรับผิดชอบในเรื่องเงินของตนเองซะมากกว่า

          นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสอง คือ พวกที่ชอบคิดว่า 'ไม่มีทางทำได้' (It-Can't-Be-Done Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้เข้าใจว่ามีทางที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้อยู่นอกเหนือความสามารถของตนเองและคนอื่น คนที่จะลงทุนได้ประสบความสำเร็จในความเห็นของคนกลุ่มนี้จะต้องเป็นคนที่มี"พรสวรรค์" หรือไม่ก็เป็นคนที่"โชคดี"ที่รู้ข่าววงใน หรือไม่ก็ต้องเป็น"ผู้เชี่ยวชาญ"ทางการเงินเท่านั้น
          พวกเขามักจะอ้างว่า ที่คนอื่นรอบๆ ตัวประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นเป็นเพราะ"โชค"มากกว่า"ฝีมือ" ส่วนใหญ่มักจะพูดประชดประชันให้คนอื่นหมดกำลังใจ และพยายามให้มาอยู่เป็นพวกเดียวกัน พวกเขากลัวที่จะเห็นคนอื่นได้ดีกว่า เลยพยายามลากคนอื่นๆ รอบตัวไม่ให้เด่นกว่าตนเอง ส่วนใหญ่จะวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น รวมทั้งหา"เหตุผล"ที่จะบอกว่าทำไมเราถึงไม่สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ และมักจะโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาบอกนั้นเป็นความจริง
          ถ้าเคยคุยกับคนเหล่านี้มักจะได้ยินว่า "โอ้ย ที่ทำได้นะเป็นเพราะฟลุ้คซะมากกว่า ผมไม่เชื่อหรอกว่าที่คุณบอกน่ะมันจะเป็นจริง ใครถือหุ้นไว้ไม่ยอมขายก็บ้าแล้ว ใครๆ เขาก็ซื้อมาขายไปทั้งนั้นหละ ผมไม่เชื่อหรอกว่าถือหุ้นนานๆ จะได้กำไร สักวันราคาก็กลับมาเท่าเดิม รีบๆ ขายไปเถอะ เดี๋ยว 'ขาดทุน' จะหาว่าไม่บอก"
          สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่ามักจะเจอกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าท่านได้พบได้เจอนักลงทุนประเภทนี้ ขอแนะนำให้อยู่ห่านงๆ ไม่ต้องตอบโต้หรือ พยายามให้เขาเข้าใจในสิ่งที่คุณทำ อย่าท้อถอยกับคำสบประมาททั้งหลายที่ได้รับ จงมุ่งมั่นในแนวทางการลงทุนของคุณต่อไป เมื่อไหร่ที่คุณประสบความสำเร็จ เขาจะเข้าใจคุณเอง
         

 นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสุดท้ายคือ นักลงทุนผู้ตกเป็น 'เหยื่อ' (Victim Passive Investor)

          เช่นเดียวกับสองพวกแรก นักลงทุนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนที่ฉลาด มีการศึกษา มีหน้าที่การงานดี แต่เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว นักลงทุนประเภทนี้ไม่มี 'หลักการ' หรือ 'กฎ' ในการลงทุนแต่อย่างไร มักจะชอบซื้อหุ้นตอนราคาสูงเพราะกลัวตกรถไฟ แต่แล้วก็ตกใจขายเมื่อเห็นราคาหุ้นปรับตัวลง
          ส่วนใหญ่มากกว่า 90% มักจะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่กระนั้นก็ยังไม่เข็ดและพยายามค้นหา"เคล็ดลับ"ในการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป พวกเขามองตลาดหุ้นเหมือน"บ่อนพนัน"ที่ถูกกฎหมาย มีคนได้ก็จะต้องมีคนเสีย รวมทั้งมันน่าตื่นเต้นเร้าใจ มีเรื่องให้ลุ้นได้ทุกวัน
          สังเกตดูคนกลุ่มนี้ได้ง่ายๆ ก็คือ ชอบพึ่งพาคนอื่นในการลงทุน มักชอบถามว่า"ตอนนี้ ซื้อหุ้นอะไรดี" หรือ "ตอนนี้ หุ้นตัวไหนน่าเล่น"  กลยุทธ์คือ ถ้าถามหลายๆ คนแล้วได้ชื่อหุ้นมาตรงกัน แสดงว่าเป็น"หุ้นที่ดี" ซื้อได้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วมักไม่ทราบว่าจะ"ขาย"ตอนไหนดี ส่วนใหญ่จะขายก็เมื่อพบว่าราคาหุ้นลดลงมาต่ำกว่าทุนไปแล้ว
          ถ้าสังเกตจะพบว่า วันไหนซื้อหุ้นแล้ว"ขาดทุน"จะเห็นเขาเงียบๆ จ๋อยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ได้"กำไร" เขาจะป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า วันนี้ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้
          นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ค่อยมี"ความอดทน"เท่าไหร่นัก อะไรที่ได้เงินมาง่ายๆ ก็จะรีบกระโดดเข้าไปทันที เช่น หุ้นจอง หรือ หุ้นเก็งกำไรทั้งหลาย พวกเขาอาจจะซื้อขายในเครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย เช่น Cover-Warrant เช่น SCIB-C1 แต่ถ้าถามว่าวอร์แรนท์ชนิดนี้คืออะไร ต่างกับวอร์แรนท์ธรรมดาอย่างไร พวกเขามักจะไม่ทราบว่ามันคืออะไรต่างกันอย่างไร แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือในตลาดกำลัง"เล่น" ตัวนี้กันอยู่
          มีผู้รู้บอกเอาไว้ว่า นักลงทุนประเภทนี้พยายามค้นหา"สูตรสำเร็จ"ในการลงทุนเพื่อที่วันหนึ่งเขาจะลงทุนได้กำไรทุกครั้ง และจะกลายเป็นมหาเศรษฐีในวันข้างหน้า แต่สิ่งที่พวกเขาลืมก็คือ ลืมที่จะ"คิดด้วยตนเอง"

ระดับที่สี่: นักลงทุนอัตโนมัติ (Automatic Investor)


ถ้าใครมาถึงระดับนี้คงมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ความสำเร็จในการลงทุนนั้นอยู่แค่เอื้อม และอิสรภาพทางการเงินกำลังรอท่านอยู่
นักลงทุนระดับนี้เข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าการลงทุนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นต่างจากนักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor) ก็คือ นักลงทุนอัตโนมัติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนของตนเอง และมีแผนการในการลงทุนระยะยาวที่ชัดเจนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้

พวกเขาไม่ค่อยสนใจที่จะ"เก็งกำไร"สักเท่าไหร่นัก ถ้าจะเก็งกำไรก็มักจะใช้เงินเพียง 5-10% ของเงินลงทุนเท่านั้น พร้อมทั้งมีกฎตายตัวที่แน่นอนที่จะ"จำกัด"ความเสี่ยงของการเก็งกำไร

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการลงทุนที่เน้น"ความเรียบง่าย" เช่น ลงทุนระยะยาวในหุ้นพื้นฐานดี หรือซื้อกองทุนที่มีการบริหารงานที่ดี โดยมีโอกาสในการทำผลตอบแทนได้ 10%+ ต่อปี

พวกเขามักไม่ชอบใช้บัญชีมาร์จินในการซื้อขายหุ้น หรือเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่ "มืออาชีพ" ชอบใช้กัน แต่พวกเขาลงทุนด้วยแผนการลงทุนอัตโนมัติ เช่น แบ่งเงินส่วนหนึ่งทุกๆ เดือนเพื่อนำไปซื้อหุ้นหรือกองทุน

ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะ"เก็บเงิน" ที่เหลือจากการใช้จ่าย เช่น ทำงานได้เงินเดือนประจำ เมื่อเงินเดือนออกก็เริ่มใช้จ่ายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดว่าจะใช้จ่ายรายการไหนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เมื่อถึงสิ้นเดือนมักจะพบว่า เงินเดือนที่ได้รับมานั้นหมดลงพอดี ถึงแม้จะตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเงิน แต่ก็มักมีค่าใช้จ่าย "ฉุกเฉิน" ในแต่ละเดือนอยู่เสมอๆ สุดท้ายแล้วก็เก็บเงินไม่ได้สักที

สำหรับนักลงทุนระดับนี้จะใช้จ่ายเงินที่เหลือจาก "เงินเก็บ" นั่นคือเมื่อได้รับเงินเดือนจะแบ่งนำไปลงทุนส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน อาจแบ่งเป็นเงินเก็บประมาณ 30-50% ที่เหลือถึงนำไปใช้จ่าย
ระดับขั้นของการลงทุนระดับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย พวกเขาเข้าใจว่า อิสรภาพทางการเงินไม่ได้เกิดจาก "โชค" แต่เกิดจากความอดทนและการวางแผนทางการเงินที่ดี

ระดับห้า: นักลงทุนผู้ก้าวหน้า(Active Investor)


ในสองระดับสุดท้ายของบันไดของการลงทุน เป็นระดับที่มีน้อยคนจะไต่มาถึง ซึ่งถ้าถามคนส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าต้องมาถึงสองระดับสุดท้ายแล้วเท่านั้นถึงจะ"รวย" แต่ในความเป็นจริง เพียงแค่มาถึงระดับสี่หรือนักลงทุนอัตโนมัติก็เพียงพอที่ทำให้ท่านมีเงินได้แล้ว

ก่อนที่จะมาถึงระดับห้าได้ นักลงทุนจำเป็นจะต้องผ่านระดับสี่มาก่อนแล้วเท่านั้น มีตัวอย่างมากมายที่หลายคนอยากจะ"รวย" เพียงชั่วข้ามคืน กระโดดมาที่ระดับห้าอย่างรวดเร็ว เพียงเพราะเห็นหลายๆ คนทำเงินได้อย่างมากมายจากตลาดหุ้น จึงอดใจไว้ใม่ได้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในความร่ำรวยที่เกิดขึ้น สุดท้ายก็ต้อง"ขาดทุน" จนถึงกับบอกตัวเองว่าจะเลิก"เล่นหุ้น"ไปเลยก็มี

นักลงทุนระดับห้าเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การที่จะมาถึงระดับนี้ได้จำเป็นต้องมี"หลักการ"และ"กฎ"ในการลงทุนที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถึงแม้พวกเขาจะลงทุนในเครื่องมือที่แตกต่างกัน เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม แต่หลักการและกฎเกณท์ต่างๆ ที่ใช้ ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และพยายามที่จะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็สามารถ"จำกัด"ความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20-100% ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับนักลงทุนระดับนี้

ขณะที่คนส่วนใหญ่"ทำงานเพื่อเงิน" แต่นักลงทุนระดับห้า"ใช้เงินทำงาน"อย่างขะมักเขม้น

ระดับหก: นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ (Capitalist)


ระดับขั้นสุดท้ายของนักลงทุนก็คือ Capitalist หรือนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ นักลงทุนระดับนี้เป็นผู้สร้างความเจริญให้กับสังคมและมนุษยชาติ เป็นผู้สร้างงานให้กับคนมากมาย และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนในโลกให้ดีขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การที่สิ่งต่างๆ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะคงอยู่ตลอดไปถึงแม้พวกเขาจะจากโลกนี้ไปแล้ว มีน้อยคนที่จะมาถึงระดับขั้นนี้ได้ในโลก

ลองนึกถึงฟอร์ด, ร็อคกี้เฟลเลอร์, หรือแม้กระทั่งบิล เกตต์ ซึ่งเป็นผู้ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนในโลกนี้ ด้วยรถยนต์ราคาถูก หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่คนทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน

ทั้งหมดของบันไดการลงทุนจัดแบ่งโดย จอห์น เบอร์เล่ย์ (John R. Burley) ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.johnburley.com

จะเห็นว่าบันไดของการลงทุนมีหลายขั้นแตกต่างกันไป แต่การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ จำเป็นจะต้องมาถึงอย่างน้อยระดับที่สี่ของการลงทุน (Automatic Investor) ทำให้การศึกษาหาความรู้ทางการลงทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในปัจจุบันอัตราผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับธนาคารหรือดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบ การนำเงินไปฝากไว้ในธนาคารเฉยจึงเปรียบเสมือนการที่เงินมีค่าลดลงไปทุกวัน ดังนั้นการหาช่องทางการลงทุนที่ดีกว่าจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและทดลองปฏิบัติ
ว่าแต่ว่า วันนี้ท่านมาถึงระดับสี่ของการลงทุนหรือยัง?--จบ--

วิธีการสมัคร Perfect Money พร้อมสอนการใช้งาน

วิธีการสมัคร Perfect Money พร้อมสอนการใช้งาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ   Perfect Money     ====>   http://thaiexchanger.igetweb.com/product/1085304/Perfect%20Money.html
รับบริการสั่งจองซื้อ Okpay  และ Perfect Money ในราคาส่ง  สำหรับออเดอร์  3,000$ ขึ้นไป

เงื่อนไขการสั่งซื้อ
1.  ลงทะเบียนสมาชิกที่  www.ThaiExchanger.com
1.  อัตราค่าดำเนินการ
จำนวน 3,000$ - 5,000$  =  อัตราแลกเปลี่ยน + 2  บาท / $
จำนวน 5,000$ - 9,999$  =  อัตราแลกเปลี่ยน + 1.8 บาท / $
จำนวน 10,000$ ขึ้นไป   =  อัตราแลกเปลี่ยน + 1.5 บาท / $
2.  ชำระเงิน 50%  สำหรับยอดสั่งจอง
3.  ระยะเวลาการรอคอย 2-5 วันทำการ  (ชำระเงินส่วนที่เหลือเมื่อสินค้าพร้อมโอน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณเปิ้ล  084-1583366
ThaiExchanger.com

ขั้นตอนการเปิดบัญชี  Perfect Money
ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ  ครั้งละ  0.5%  ( หักจากผู้ส่งเงิน )
1. คลิกเลือก  ลงทะเบียน   เพื่อสร้างบัญชี
2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ตรงตามความเป็นจริง

3.  หลังกดยืนยันการสมัคร  ระบบจะตอบรับการลงทะเบียน  และส่ง ID สำหรับล็อคอินเข้าใช้งานให้เราทางอีเมล์

4. ตรวจสอบเลข ID  ( เป็นเลข 6 หลัก )  หากได้รับแล้วสามารถนำเข้าไปล็อคอินใช้งานได้ทันที

ขั้นตอนการยืนยันบัญชี   PERFECTMONEY (PM)

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล  ===>  www.cashth.com
สำหรับการยืนยันตัวตนสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- พาสปอต หรือหนังสือเดินทางต่างประเทศ หากไครไม่มีให้ไปทำที่ กรมศุลกากร ใช้บัตรประชาชน+เงิน 1,040 บาท ใช้เวลาทำราวๆ 15นาที และรอรับพาสปอตทาง EMS ราวๆ 5วัน
- บิลชื่อที่อยู่ ENG สำหรับคนที่ไม่มีลองใช้บิลค่าโทรศัพท์ดูครับ เช่นผมใช้มือถือค่าย DTAC ก็โทรไปที่ศูนย์ CALL CENTER เพื่อแจ้งให้ส่งบิลมาเป็นแบบ ENG ซึ่งเราจะได้รับในรอบบิลถัดไป
อาจจะมองว่ายุ่งยาก แต่ให้ไปทำไว้ครับเพราะการยืนยันตัวตนกับต่างประเทศทุกที่จะใช้ พาสปอต+บิล หากเรามี 2อย่างนี้ไวละก็จะง่ายและรวดเร็วมากคับ
วิธีการยืนยันตัวตนกับ PerFect Money













ขั้นตอนการโอนเงินระหว่างบัญชี  Perfect Money
1. เ้ข้าหน้าเว็บ  แล้วกด Login  กรอกข้อมูล id + pass  เพื่อเข้าสู่ระบบ

2. กดส่งเงิน  หากต้องการโอนให้บุคคลอื่น

3. คลิกเลือกชำระเงินเดี่ยว

4. กรอกบัญชีผู้รับโอน  และจำนวนเงิน

5. ตรวจสอบความถูกต้องและกดยืนยันการโอน

6. ระบบรับคำสั่งโอนเงิน  ให้ผู้รับตรวจสอบยอดเงินปลายทางได้ทันที

7. สามารถตรวจสอบประวัติการโอนเงินย้อนหลังได้ที่เมนู   ประวัติศาสตร์


"คำเตือนความเสี่ยง: ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่นำเสนอโดย บริษัท ดำเนินการในระดับสูงของความเสี่ยงและอาจส่งผลในการสูญเสียของเงินทุนทั้งหมดของคุณคุณไม่ควรลงทุนเงินที่คุณไม่สามารถจะสูญเสีย.."

บทความที่ได้รับความนิยม