เหตุผลที่ผม “เลิกดู” กราฟหุ้น (ด้วยตาเปล่า)

Trader
ว่ากันว่าถ้าคุณอยากจะเป็นนักเก็งกำไรที่เก่งกาจ คุณจะต้องฝึกๆๆๆ โดยเฉพาะกับการฝึก “ดูกราฟ” หุ้นให้ช่ำชอง อย่างไรก็ตามในบทความนี้ผมอยากจะแชร์เหตุผลบางอย่างที่ว่า เหตุใดในปัจจุบันผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการฝึก ดูกราฟ-ตีกราฟ-ลากเส้นกราฟ แบบดั้งเดิมมากสักเท่าไหร่นัก และทำไมผมจึงมักจะบอกทุกคนว่าผมนั้น “เลิก” ดูกราฟหุ้นมานานหลายปีแล้ว และต่อไปนี้ก็คือเหตุผลของผมครับ
“ฝึกดูกราฟ” สิ่งที่คุณไม่ควรทำและเชื่อมั่นมากจนเกินไป
ผมคงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการ “ดูกราฟ” หรือการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคแบบดั้งเดิม (Subjective Technical Analysis) นั้นถือได้ว่าเป็นศาสตร์แรกๆที่ผมได้เรียนรู้ในตลาดหุ้น และถือเป็นวิชา “ครู” ในการเล่นหุ้นของผมมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนั้น การดูฝึกกราฟด้วย “ตาเปล่า” นั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ผมไม่ค่อยอยากที่จะแนะนำให้ใครทำมันอย่างหนักหรือยาวนานอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเหตุผลนั้นไม่ใช่เพราะว่ามันจะทำให้คุณปวดตาหรือว่าการดูกราฟนั้นไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด (เพราะอันที่จริงแล้วการดูกราฟด้วยตาเปล่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นหนทางในการเรียนรู้พฤติกรรมของตลาดและราคาหุ้นได้อย่างรวดเร็วที่สุดทางหนึ่งอีกด้วย)
แล้วถ้าอย่างนั้นทำไมผมจึงไม่แนะนำให้คุณ “ฝึกดูกราฟ” กันอย่างหนัก หรือหมกมุ่นกันจนหมกมุ่นเกินไปน่ะหรือครับ!?
คำตอบก็เพราะถึงแม้ว่าการฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าหรือการเรียนรู้วิชา Technical Analysis แบบดั้งเดิมนั้นจะช่วยให้คุณสามารถใช้สัญชาติญาณของคุณในการทำความเข้าใจกับตลาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ในอีกมุมหนึ่งแล้วกระบวนการประมวลผลแบบคิดลัดของสมองมนุษย์ (Heuristic Judgement Process) ที่เกิดขึ้นในขณะที่เราดูกราฟนั้นมักที่จะทำให้เราเกิดข้อผิดพลาดในการสรุปข้อมูลและผลลัพท์ไปได้เป็นอย่างมาก และมันก็มักที่จะทำให้คุณมีความเชื่อจนนำไปสู่การกระทำต่างๆที่จะทำให้คุณขาดทุนโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลยทีเดียว
โดยที่เหตุผลในแต่ละข้อต่อไปนี้ คือสาเหตุหลักๆที่ทำให้การฝึกดูกราฟอย่างหนักด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจก่อให้เกิดอันตรายกับพอร์ทโฟลิโอของคุณได้โดยคาดไม่ถึง ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่ผมอยากจะแชร์ให้อ่านกันเอาไว้ ถึงแม้ว่าผมจะเสี่ยงที่จะโดนนักดูกราฟหลายๆคนด่าและยำเละในบทความนี้ก็ตามครับ Open-mouthed smile
1. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่านั้นเป็นสิ่งที่คลุมเครือ
เหตผลอันดับแรกที่ผมคิดว่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดอ่อนของการดูกราฟด้วยสายตาหรือ Technical Analysis แบบดั้งเดิมได้อย่างง่ายที่สุดนั้น ก็คือความคลุมเครือของตัววิชาเอง รวมไปถึงความคลุมเครือที่จะเกิดจากการตีความของผู้ใช้
โดยหากคุณได้ลองนึกให้ดีถึงบทเรียนในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคเบื้องต้นเกือบทุกๆเล่มคุณจะพบว่า พวกมันก็มักจะประกอบไปด้วยหลักการของ Dow Theory, Price Pattern, Elliott Wave และอื่นๆซึ่ง … ถูกสังเกตและสร้างขึ้นมาจาก “กฎหลวมๆ” ที่ไม่ได้ให้ความหมายหรือระบุค่าตัวแปรไว้อย่างชัดเจน จนทำให้พวกเราทุกๆคนไม่สามารถที่จะตีความกราฟไปในทางเดียวกันได้ในทุกๆครั้ง
โดยที่เจ้ากฎหลวมๆของวิชา Technical Analysis แบบดั้งเดิมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นกราฟแบบ หัว, ไหล่, ตูด, ธง, ชามคว่ำ, ชามหงายและอื่นๆอีกมากมายนั้น ก็มักที่จะทำให้พวกเราทุกคนพร้อมที่จะมีข้ออ้างในการตัดสินใจและความลังเลใจอยู่บ่อยครั้งจนสูญเสียวินัยในการลงทุนไป เพราะเรามักจะมีข้อแก้ตัวเมื่อเราย้อนกลับมาดูความผิดพลาดของเราเสมอ (ยกตัวอย่างเช่น เรามักแก้ตัวว่ามองกราฟผิดรูปแบบไป) นี่จึงเป็นจุดอ่อนข้อแรกของการดูกราฟด้วยตาที่ผมอยากจะพูดถึงนั่นเอง
elliott-wave-theory
ภาพที่ 1 : Elliott Wave ทฤษฏีอีเลียทเวฟ หนึ่งในวิชาการวิเคราะห์หุ้นที่มีความคลุมเครือและมีข้อแม้รวมถึงข้อยกเว้นที่มากที่สุดของการดูกราฟ
2. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่าเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้
นอกจากที่การฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าจะเป็นสิ่งที่คลุมเครือมากๆแล้ว จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดก็คือมันอย่างที่สองก็คือ ความคลุมเครือจากกฎหลวมๆเหล่านี้ทำให้การสรุปผลและพัฒนาองค์ความรู้ในการวิเคราะห์หุ้นต่อยอดขึ้นไปนั้นเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากพวกมันขาดความชัดเจนในการที่เราจะนำไปพิสูจน์ถึงสิ่งต่างๆได้อย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง
เชื่อหรือไม่ว่าจุดอ่อนในข้อที่สองของการดูกราฟที่เกิดขึ้นนี้เองทำให้นักเก็งกำไรระดับโลกหลายๆคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
“การดูกราฟดูตาเปล่าหรือ Technical Analysis แบบดั้งเดิมนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิด แต่เป็นสิ่งที่แย่กว่าผิดเสียอีก” (Subjective TA is not even wrong. It is worse than wrong)
เพราะเราไม่มีวันรู้เลยว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือผิดพลาดมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมันคลุมเครือจนไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้!
ดังนั้นแล้วการสรุปองค์ความรู้จากสังเกตพฤติกรรมของตลาดการฝึกนั่งดูกราฟด้วยตาเปล่าๆเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอ และอาจกลายเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในตลาดหุ้นในระดับ “ยุทธ์ศาสตร์” ได้เลยทีเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลข้องที่สองที่ทำให้ผมล้มเลิกแนวคิดในการฝึกดูกราฟไป โดยเฉพาะกับทฤษฎีกราฟซึ่งมีความคลุมเครืออยู่สูงไปโดยปริยายนั่นเองครับ
Note : เหตุผลในข้อนี้นั้นผมเหมารวมไปถึงการดู Indicator ต่างๆด้วยตาเปล่าด้วยเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลจากราคาหุ้นในอดีตอย่างซับซ้อนพิสดารสักแค่ไหน แต่การที่เรานำมันมาใช้โดยไม่เคยรู้เลยว่าแท้จริงแล้วประสิทธิภาพของเป็นอย่างไร มันก็ไม่ต่างจากการคิด “มโน” ไปเอง โดยอาศัยสัญชาติญาณ, ประสบการณ์ส่วนตัว และความเชื่อ อย่างที่นักดูกราฟหลายๆคนได้ทำผิดพลาดมาแม้แต่น้อย
James Simon Quote
ภาพที่ 2 : James Simon ผู้ก่อตั้งกองทุน Renaissance Technologies ชื่อดัง ที่มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยทบต้นกว่า 35% หลังหัก Performance Fee ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เราจะทดสอบแนวคิดทุกอย่างของเรากับข้อมูลของตลาดต่างๆในอดีต เพราะอดีตคือกุญแจที่ยอดเยี่ยมในการเข้าใจอนาคต แน่นอนว่าไม่ได้สมบูรณ์แบบ! แต่ความเป็นมนุษย์ของพวกเราคือพลังที่ขับเคลื่อนตลาด และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงภายในข้ามคืน ดังนั้นแล้วยิ่งคุณสามารถที่จะเข้าใจอดีตได้ดีเท่าไหร่ มันก็มีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าคุณจะมีข้อมูลที่สำคัญมากๆในการที่จะเข้าใจถึงอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น”
3. การดูกราฟหุ้นด้วยตาเปล่าไม่อาจเอาชนะขีดจำกัดของสมองมนุษย์ (BRAIN LIMIT)
สำหรับเหตุผลในข้อที่สามหรือข้อสุดท้ายที่ทำให้ผมเลิกนั่งดูกราฟมานานแล้วก็คือ …
พวกเราทุกคนนั้นย่อมมีขีดจำกัดของสมองในการประมวลผลต่อข้อมูลต่างๆที่เกิดขึ้น(โดยเฉพาะในตลาดหุ้น) ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งขีดจำกัดทางสมองของแต่ละคน รวมไปถึงขีดจำกัดทางสมองของเผ่าพันธ์มนุษย์ โดยที่ขีดจำกัดต่างๆเหล่านี้ก็ได้เคยถูกนำมาวิจัยกันอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
งานทดลองที่ชี้ให้เห็นว่านักดูกราฟหุ้นที่เชี่ยวชาญนั้นไม่สามารถที่จะแยกแยะกราฟราคาจริงๆกับกราฟราคาปลอมๆซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการสุ่มโดยคอมพิวเตอร์ได้ (แต่เราสามารถใช้หลักสถิติช่วยแยกแยะได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล)
งานทดลองที่ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถที่จะสรุปผลและวิเคราะห์กราฟออกมาได้ต่างกัน ถึงแม้ว่ากราฟที่เราเห็นนั้นจะเป็นกราฟของหุ้นตัวเดิมๆในช่วงเวลาเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง โดยความไม่สม่ำเสมอในการประมวลผลเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม, อารมณ์ และความเหนื่อยล้าของสมอง
งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าสมองของเรานั้นถูกออกแบบมาเพื่อมองหารูปแบบบางอย่างอยู่เสมอ ซึ่งทำให้ในหลายๆครั้งเราทำการสรุปถึงรูปแบบบางอย่างขึ้นมาโดยที่มันไม่มีจริง หรือมีอยู่จริงแต่ไม่มีประโยชน์ในการทำกำไร
งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าการตัดสินใจของมนุษย์นั้นมักที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและความแปรปรวนเป็นอย่างสูงอยู่เสมอ (Highly Complex and Random) ซึ่งตลาดหุ้นนั้นถือเป็นที่ที่สถานการณ์ทั้งสองอย่างนั้นมารวมตัวกันอยู่ตลอดเวลา มันจึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงจากการขาดทุนในตลาดหุ้นได้เลยในระยะยาว เพราะถึงแม้ว่าคุณจะสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในตลาดด้วยการควบคุมสติ, สมาธิ และอารมณ์ของคุณได้ในขณะที่ทำการลงทุนอยู่ แต่สมองของเราก็ยังคงไม่สามารถที่จะทำการประมวลผลในสถานการณ์ที่ตัวแปรต่างๆมีความซับซ้อนและมีผลกระทบต่อกันอย่างเป็นลูกโซ่เช่นในตลาดหุ้นได้ดีสักเท่าไหร่ (Configural Problem) มันจึงมักนำมาซึ่งความผิดพลาดในการตัดสินใจของเราอยู่เสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Shepards Tables
ภาพที่ 3 : ภาพ Shepard’s Tables แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างความผิดพลาดในการประมวลผลของสมองจากข้อมูลที่ถูกส่งมาจากสายตาของเรา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในขีดจำกัดในการประมวลผลของสมองมนุษย์ โดยที่ในภาพนั้นเราจะเห็นด้านยาวของโต๊ะทั้งนั้นสองยาวไม่เท่ากัน ทั้งที่จริงแล้วพวกมันมีความยาวเท่าๆกัน
แต่การดูกราฟก็ไม่ได้ไร้ประโยชน์
สุดท้ายนี้ ถึงแม้ผมจะบอกว่าผมเลิกดูกราฟด้วยตาเปล่าหรือเลิกฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าไปนานแล้วก็ตาม แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันจะไร้ประโยชน์ไปเสียทีเดียว
เพราะอันที่จริงแล้วส่วนหนึ่งแนวคิดต่างๆที่ผมได้เคยนำมาทดสอบและปรับใช้อย่างเป็นระบบในการลงทุน (Backtesting and Implementation) ก็ถือได้ว่าเป็นผลผลิตของประสบการณ์และความทรงจำจากการนั่งฝึกดูกราฟเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมงอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้วประโยชน์อย่างหนึ่งของการฝึกดูกราฟด้วยตาเปล่าจึงเป็นการฝึกการเรียนรู้พฤติกรรมของราคาหุ้นในเบื้องต้นที่รวดเร็วและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ผมเองเห็นว่าการฝึกดูกราฟและใช้เพียงความรู้สึกและวิจารณญาณของเราเพื่อสรุปผลลัพท์หรือสร้างทฤษฎีใดๆในการเล่นหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีอันตรายและความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตลาดได้เป็นอย่างมาก คุณจึงควรที่จะพยายามทดสอบแนวคิดของคุณอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปด้วยกันอยู่เสมอ เพราะถึงแม้ว่ามันจะไม่อาจรับประกันถึงผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของคุณได้ แต่มันก็พอที่จะรับประกันได้ว่าคุณจะไม่เสียเวลาและเงินทองไปกับแนวคิด, ความเชื่อ และกลยุทธ์การลงทุนที่คุณเชื่อว่ามันอาจมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จริงแล้วพวกมันอาจไม่เคยสร้างผลตอบแทนในอดีตได้เลยก็เป็นได้
… และนี่ก็คือเหตุผลหลักๆที่ว่าทำไมผมจึงเลิกดูกราฟ, ตีกราฟ และฝึกดูกราฟ (ด้วยตาเปล่า) ไปโดยปริยายนั่นเองครับ!

ความเข้าใจผิด 10 ประการเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ

ในฐานะของนักลงทุนคนหนึ่งที่วนเวียนอยู่กับการค้นคว้าวิจัยกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนมาหลายปี ผมเองยอมรับว่าค่อนข้าง “เพลีย” พอสมควร เวลาที่มีใครกล่าวหาว่าร้ายหลักการลงทุนอย่างเป็นระบบแบบ Quantitative and Systematic Trading โดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงความเข้าใจผิดหลายๆอย่างเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบ ที่ผมมักจะได้ยินมาหรืออ่านมาอยู่บ่อยๆครับ

นิยามของการลงทุนอย่างเป็นระบบ และระบบการลงทุน


เป็นธรรมเนียมที่ผมจะต้องขอจำกัดความสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงกันเสียหน่อยนะครับ เพื่อไม่ให้ความหมายของพวกมันหลุดกรอบกันออกไป โดยสำหรับผมแล้ว
“การลงทุนอย่างเป็นระบบ” (Quantitative Trading-Investing) คือการลงทุนด้วยกฎระเบียบต่างๆที่ชัดเจน ตามหลักฐานข้อเท็จจริงและสถิติตที่พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ หรือในอีกแง่หนึ่งนั้น
“ระบบการลงทุน” (Quantitative Trading-Investing System) ก็คือ ชุดของกฎระเบียบต่างๆในการลงทุนที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้ถูกออกแบบมาโดยการค้นคว้าวิจัย, สรุป และยืนยันผล ตามหลักสถิติและวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ
และนี่ก็คือนิยามสั้นๆกระชั้บๆก่อนที่ผมจะพูดถึงความเข้าใจผิดต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบกันต่อไปครับ

1. การลงทุนตามระบบใช้ไม่ได้จริง เพราะตลาดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ


Answer : แน่นอนครับว่าตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (และนักออกแบบระบบทุกคนก็รู้ดี) แต่การเปลี่ยนแปลงในลักษณะ “แก่น” ของพฤติกรรมตลาดนั้นก็มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (ยกตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆของทางตลาดหลักทรัพย์ อาทิเช่น การกำหนดราคา Ceiling-Floor ใหม่ หรือ การเปลี่ยนแปลงขนาดของ Spread ราคา) ซึ่งถ้าให้พูดตรงๆเลยก็คือหากมีการเปลี่ยนแปลงแบบ “สุดขั้ว” ในโครงสร้างของตลาดแบบนี้ ระบบการลงทุนที่ใช้ประโยชน์จากกฎหรือโครงสร้างต่างๆของตลาด เหล่านั้นก็อาจจะต้องพังลงอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในตลาดนั้น มักที่จะอยู่ในลักษณะการเปลี่ยนแปลงในชั้น “เปลือก” ซึ่งมักที่จะเกิดขึ้นโดยอารมณ์ ความรู้สึก และความเชื่อของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดเอง โดยที่พฤติกรรมเหล่านี้มักถูกควบคุมโดยสันดานและสมองของมนุษย์ ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะๆ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของ Momentum นั้นถูกค้นพบมาเป็นเวลาร้อยๆปีแล้วก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เช่นเดิม  ดังนั้นแล้ว ระบบการลงทุนที่ออกแบบมาดีและได้รับการดูแลอยู่เสมอ จะสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ได้อย่างไม่ยากนัก เนื่องจากพวกมันจะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระดับเปลือกได้อยู่แล้วเป็นอันดับแรกนั่นเองครับ

image

ภาพที่ 1 : แสดงให้เห็นผลลัพท์ของระบบ Mangmao ATH ซึ่งเป็นระบบการลงทุนรูปแบบหนึ่งในเชิงของกลยุทธ์ Trend Following โดยจะเห็นได้ว่ามันยังคงสามารถที่จะปรับตัวและเอาชนะตลาดได้ในทั้งช่วงอดีตและปัจจุบันของตลาด


2. การลงทุนอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ได้กำไร


Answer : อาจจะครับ! เพราะการลงทุนอย่างเป็นระบบไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้รับผลกำไรในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่การลงทุนอย่างเป็นระบบจะสามารถการันตีให้กับคุณได้ก็คือ มันจะทำให้คุณลงทุนตามหลักการ และหลักฐานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับตลาดในอดีตที่ผ่านมาต่างหาก โดยมีเหตุผลมาจากหลายๆอย่าง อาทิเช่น
– ความผิดพลาดจากการวิจัยและออกแบบระบบการลงทุน
– โครงสร้างของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอย่างมีนัยยะสำคัญ
– พฤติกรรมของผู้เล่นส่วนใหญ่หรือผู้เล่นที่มีผลกับตลาดในอนาคตนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงที่คุณควรต้องทำความเข้าใจให้ดี และยอมรับให้ได้ก่อนเริ่มต้นลงทุนด้วยระบบการลงทุนต่างๆครับ

3. การลงทุนอย่างเป็นระบบเหมาะสำหรับคนโง่ หรือคนที่ไม่รู้เรื่องการลงทุน


Answer : การจะเป็นนักลงทุนที่สามารถทำกำไรในตลาดได้ในระยะยาวนั้นเราไม่สามารถเป็นคนโง่ หรือโง่ที่สุดในตลาดได้ครับ! สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ก็คือ การลงทุนอย่างเป็นระบบนั้นกลับต้องอาศัยความเข้าใจในหลายๆด้านเป็นอย่างดี อาทิเช่น หลักของการลงทุน, พฤติกรรมของกลยุทธ์การลงทุนในลักษณะต่างๆ, หลักสถิติ และเทคโนโลยีต่างๆซึ่งอาจมีผลดีและผลเสียกับการลงทุนอย่างเป็นระบบของเราครับ
สาเหตุก็เนื่องมาจากมันจะเป็นไปไม่ได้เลยในการที่เราจะสามารถยึดมั่นต่อหลักและวิธีการลงทุนของระบบการลงทุนที่เรากำลังใช้อยู่ได้อย่างยาวนาน หากว่าเราขาดความเข้าใจต่อพฤติกรรมของมัน และนั่นก็มักจะทำให้เราเกิดความคาดหวังที่ไม่สมจริง จนทำให้ต้องล้มเลิกการลงทุนตามระบบนั้นๆไปในที่สุด

Mangmao ATH 2004-2007

ภาพที่ 2 : แสดงให้เห็นผลตอบแทนของระบบ Mangmao ATH แบบ Close-Up ในช่วงปี ค.ศ. 2004-2007 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดโดยรวมหรือ SET Index ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก และนั่นทำให้ถึงแม้ว่าระบบจะสามารถเอาชนะผลตอบแทนของตลาดได้ แต่มันก็มีช่วง Flat Period จนพอร์ทการลงทุนเกิด Drawdown กว่า 20% และไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ยาวนานถึง 27.35 เดือน (2 ปีกว่า) ซึ่งสามารถที่จะถีบนักลงทุนที่ไร้ความเชื่อมั่นและความเข้าใจเกี่ยวกับระบบและกลยุทธ์ชนิดนี้ออกไปได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณคิดว่าระบบมันย่ำแย่มากแล้วล่ะก็ สิ่งที่น่าสนใจก็คือผลตอบแทนของดัชนี SET Index มี Drawdown กว่า 26.75% และมีช่วง Flat Period ยาวนานกว่า 42.4 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าใครที่เคยลงทุนมานานเพียงพอจะนึกออกว่าช่วงปีสองปีนั้นตลาดน่าเบื่อแค่ไหน

4. การลงทุนอย่างเป็นระบบตามหลักสถิติเป็นเรื่องไร้สาระ


Answer : เรื่องที่ไร้สาระกว่าคือการที่คนพูดอย่างนี้มักไม่รู้ว่าหลักวิชาการลงทุนที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่ได้ถูกพิสูจน์และยืนยันตามกระบวนการทางสถิติมาแล้วทั้งสิ้นครับ!
ยกตัวอย่างเช่น องค์ความรู้ต่างๆในสาขาวิชาการเงินการลงทุนหลายๆอย่าง เช่นทฤษฎี Modern Portfolio Theory ก็เกิดขึ้นมาจากการตั้งสมติฐาน, เก็บข้อมูล, การสร้างแบบจำลองทางการเงิน และสรุปผลลัพท์ด้วยสถิติ จนถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในกองทุนต่างๆทุกวันนี้
หลักการลงทุนเน้นคุณค่าด้วยปัจจัยพื้นฐาน ก็เกิดขึ้นโดยการสังเกตุ, ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับตัวแปรทางปัจจัยพื้นฐานต่างๆ, การเก็บข้อมูล และสรุปผลวิจัยจากข้อมูลทางสถิติ ของ เบนจามิน เกรแฮม จนสืบทอดและถูกพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นแนวทางการลงทุนเชิงคุณค่า (Value Investing) สายหลักของโลกใบนี้
ส่วนหลักการลงทุนตามแนวโน้มก็ถือกำเนิดขึ้นมาจากการค้นพบปรากฏการณ์ของ Momentum ซึ่งในปัจจุบันนั้นก็มีงานวิจัยทางวิชาการอยู่มากมายที่ได้ทำการทดสอบวิจัยและสรุปผลทางสถิติแล้วว่าปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและสามารถหาช่องว่างของตลาดเพื่อการทำกำไรได้
พูดง่ายๆก็คือ อะไรก็ตามที่คุณใช้การสังเกตจากอดีต, เก็บข้อมูล และวิจัย พวกมันก็ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับหลักการทางสถิติทั้งนั้นแหละครับ!

image
image

ภาพที่ 3-4 : ตัวอย่างหน้าแรกของบทสัมภาษณ์ เบนจามิน เกรแฮม เกี่ยวกับแนวคิดและระบบการลงทุนที่เรียบง่ายของเขาในนิตยสาร Medical Economics เมื่อปี ค.ศ. 1976 (หนังสือ The Intelligence Investor ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1949) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการลงทุนอย่างเป็นระบบเชิง Quantitative Investing ของเขาออกมา โดยเขาได้กล่าวไว้ว่ามันสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเป็นสองเท่าของดัชนีดาวโจนส์จากการทดสอบย้อนหลังกลับไปกว่า 50 ปี

5.ผลลัพท์ของการทดสอบย้อนหลังเป็นเรื่องไร้สาระ


Answer : หลายคนให้เหตุผลว่าการทดสอบกลยุทธ์การลงทุนย้อนหลังนั้นขาดความสมจริงเกินไป เพราะอาจไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของค่าคอมมิสชั่น, ผลกระทบของการซื้อขายที่มีต่อตลาด และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบย้อนหลังอย่างสมจริง และยังอาจเกิดขึ้นจากความบังเอิญได้อีกด้วย ซึ่งในอนาคตนั้นแน่นอนว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นก็มีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนไปในระดับหนึ่ง
ผมเห็นว่าจริงๆเรื่องนี้มันก็เหมือนกับคนที่เห็นกำแพงแล้วบอกว่าไม่มีทางไป แทนที่จะหาวิธีการปีนข้ามหรือเดินอ้อมกำแพงนั้นๆเพื่อไปสู่จุดหมายครับ เพราะความจริงแล้วในทุกวันนี้มีเทคนิคมากมายหลายอย่างที่เราจะสามารถนำมาช่วยในการประเมิณผลของผลการทดสอบให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเราสามารถกำหนดค่าคอมมิสชั่น, ความคลาดเคลื่อนของราคาในการซื้อขาย (Slippage), กฎระเบียบต่างๆของตลาดนั้นๆ, การใส่ผลกระทบของขนาดการซื้อขายหุ้นในตลาด (Market Impact) หรือแม้แต่การประมาณการณ์ผลตอบแทนและความเสี่ยงด้วยเทคนิคการ Simulation ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ยากเย็นนักด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ต่างๆ สรุปแล้วผมเห็นว่านี่ไม่ใช่ประเด็นที่จะชี้ว่าการทดสอบหรือวิจัยกลยุทธ์การลงทุนย้อนหลังเป็นเรื่องที่เพ้อฝันเกินความเป็นจริง
image

ตารางที่ 1 : ตัวอย่างผลลัพท์ของการประมาณการผลตอบแทนของระบบหลังผ่านการทำ Stress-Test ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการทดสอบแบบสุดขั้ว ด้วยการใช้เทคนิค Monte Carlo Simulation (Bootstrapping-with-Replacement) ซึ่งช่วยให้เราคาดการณ์ถึงผลลัพท์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วยความน่าจะเป็นในระดับหนึ่ง

6. ระบบการลงทุนมีไว้เพื่อช่วยให้รายใหญ่ปั่นหุ้นและปล่อยของ


Answer : อีกหนึ่งความเชื่อที่ฝังอยู่ในใจหลายคนที่ไม่เข้าใจในหลักการออกแบบระบบการลงทุนก็คือเรื่องของ “ทฤษฎีสมคบคิด” ซึ่งเชื่อว่ามันถูกออกแบบและเผยแพร่มาเพื่อให้คนส่วนใหญ่เป็น “เหยื่อ” ของระบบการลงทุนนั้น
ความจริงแล้วระบบการลงทุนที่ดีต้องออกแบบตามกลไกทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรมของผู้เล่นส่วนใหญ่ในตลาดที่มักเกิดขึ้นซ้ำๆมาเป็นเวลายาวนานครับ ดังนั้นพูดสั้นๆก็คือหากว่าคุณคิดว่าจะสามารถหลอกล่อคนส่วนใหญ่ด้วยการสร้างตลาดและสวนระบบการลงทุนที่ดีนั้น ในทางกลับกันแล้วคนที่พยายามทำเช่นนั้นกำลังสวนตลาด หรือ สวนพฤติกรรมตลาดอย่างรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น การพยายามทุบหุ้นที่มีพื้นฐานดีในขณะที่เศรษฐกิจกำลังดีวันดีคืน หรือแม้แต่การใช้เม็ดเงินมหาศาลเพื่อที่จะควบคุมราคาให้วิ่งไปโดน Buy-Sell Signal ของระบบการลงทุนซึ่งมีอยู่เป็นร้อยๆรูปแบบในตลาด ซึ่งผลในระยะยาวของมันก็คงจะไม่น่าพิสมัยนัก เพราะไม่เช่นนั้นแล้วผลการทดสอบย้อนหลังของระบบการลงทุนที่ยั่งยืนเหล่านี้ก็ควรที่จะพังทลายไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

7. ระบบการลงทุนเป็นการซื้อขายตาม Technical Analysis และมีไว้เพื่อการเก็งกำไรระยะสั้น และสามารถใช้ได้ในเวลาที่ตลาดมีแนวโน้มเท่านั้น


Answer : อย่างที่ผมได้ชี้แจงไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า ระบบการลงทุนคือ กลุ่มหรือชุดของกฎในการลงทุนซึ่งมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน ดังนั้นแล้วมันจึงไม่ได้หมายถึงวิธีการหรือสไตล์การลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งเลย! การลงทุนอย่างเป็นระบบนั้นถือเป็น “ประเภทของการกระบวนการในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนต่างหาก” (Trading-Investing Judgement Process) ซึ่งไม่ได้มีข้อบังคับว่าคุณจะต้องลงทุนด้วยหลักการของ Technical Analysis เท่านั้น
อันที่จริงแล้ว หากว่าคุณสามารถรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้มากเพียงพอ คุณก็สามารถที่จะทำการทดสอบวิจัยและออกแบบระบบการลงทุนมาใช้งานได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลราคาย้อนหลัง (Price Data), ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานย้อนหลัง (Fundamental Data) ,ข้อมูลเหตุการณ์ที่กระทำโดยบริษัทจดทะเบียนฯ (Corporate Action) หรือแม้แต่ข้อมูลต่างๆที่ล่องลอยอยู่ในอินเตอร์เนทต่างๆ ดังนั้นแล้วสรุปก็คือ ถ้าคุณหาข้อมูลและเรียบเรียงให้อยู่ใน Format ที่นำมาทดสอบได้ มันก็สามารถนำมาวิจัยและออกแบบเป็นระบบได้ทั้งสิ้น
ส่วนจะถามว่าทำไมเราจึงมักที่จะเห็นว่าระบบการลงทุนส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของการใช้ Technical Analysis หรือมักเป็นการนำเอาข้อมูลด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นย้อนหลังมาทำ และทำไมจึงมักที่จะทำกำไรได้เมื่อตลาดมีแนวโน้มที่ชัดเจน สาเหตุก็เป็นเพราะข้อมูลราคาเป็นข้อมูลที่หาง่ายที่สุด, มีความสมบูรณ์ และเอื้ออำนวยต่อการนำมาทดสอบมากที่สุด และปรากฎการณ์ที่ช่วยให้เราทำกำไรจากตลาดได้เป็นอย่างดีคือปรากฎการณ์ของแนวโน้มหรือ Momentum Anomaly นั่นเอง นอกจากนี้แล้วมันยังมักที่จะให้ Drawdown ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการถือยาวซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนตามระบบหลายๆคนไม่สามารถที่จะรับได้นั่นเองครับ

ภาพที่ 5 : ผลตอบแทนของระบบการลงทุนชนิดหนึ่ง ซึ่งอิงจากข้อมูล Google Trends data ที่มีการค้นหาเกี่ยวกับคำว่า Debt

8. การลงทุนตามระบบจำเป็นต้องใช้ร่วมกับการพิจารณาปัจจัยและการวิเคราะห์พื้นฐานอื่นๆ ก่อนที่จะทำการลงทุนในแต่ละครั้ง


Answer : ข้อนี้อันที่จริงแล้วเรามีทางเลือกที่จะทำเช่นนั้นก็ได้หรือไม่ทำก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามโดยมาตรฐานแล้ว ผู้ที่ออกแบบระบบการลงทุนมักเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น เนื่องจากตามหลักของการออกแบบระบบการลงทุนที่ดีนั้น มันควรที่จะต้องทำให้กฎระเบียบต่างๆนั้นมีความสมบูรณ์และคลอบคลุมการปฎิบัติการลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (นักออกแบบระบบหลายคนคิดว่าถ้าต้องใช้วิจารณญาณส่วนตัวเพิ่มเติมอีก จะนั่งวิจัยและออกแบบไปทั้งวันเพื่ออะไร) ซึ่งในปัจจุบันมีกองทุนในระดับโลกหลายกองที่ทำการลงทุนด้วยระบบการลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จ และสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีเป็นอย่างมากออกมา โดยเราสามารถที่ะจะแบ่งเกรดความเข้มข้นของการนำไปปฎิบัติใช้ได้ดังนี้
- Algorithmic Trading คือการควบคุมกระบวนการลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จด้วยคอมพิวเตอร์ ตามชุดคำสั่งหรือกฎในการลงทุนอย่างสมบูรณ์แบบ มักพบเจอในระบบที่ต้องใช้ข้อมูลที่เยอะมากๆ, มีการซื้อขายที่เร็วมากๆและสั้นมากๆจนมนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือเป็นกองทุนที่ต้องการสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการตัดสินใจต่างๆอยู่เสมอ
- Mechanical Trading คือการควบคุมกระบวนการลงทุนด้วยตัวบุคคลอย่างเข้มงวด ด้วยกฎในการลงทุนที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุมกิจกรรมในการลงทุนต่างๆให้มากที่สุด มักพบเจอในกองทุนหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีความสามารถในการวิจัยและออกแบบระบบการลงทุน แต่ติดปัญหาในเรื่องของสภาพแวดล้อมและกฎเกณฑ์ต่างๆของตลาด
- Evidence Based Trading คือการใช้วิจารณญาณร่วมกับผลงานวิจัยและทดสอบย้อนหลังในตลาด มักถูกนำไปใช้ในกองทุนที่ยังอาศัยพึ่งพาความสามารถของเทรดเดอร์ในกองทุนเป็นหลัก
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณภาพของผลการตอบแทนในการลงทุนนั้นไม่สามารถที่จะการันตีได้ด้วยลำดับความเข้มข้นของการนำไปปฎิบัติใช้นะครับ เพราะในแต่ละขั้นของความเข้มข้นนั้นก็ย่อมมีความยากง่าย และความสะดวกที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและตลาดในแต่ละแห่งครับ

9. ระบบการลงทุนง่ายๆใช้ได้ผลดีไม่เท่าระบบการลงทุนที่ซับซ้อน


Answer : คนส่วนใหญ่เชื่อว่าระบบการลงทุนอันลึกล้ำซับซ้อนที่ต้องพึ่งพาข้อมูลในการตัดสินใจหลายร้อยอย่าง หรือต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในตลาด
น่าเสียดายว่าความเชื่อนี้ไม่เคยมีหลักฐานงานวิจัยใดๆมารองรับเลยสักนิด! ซึ่งอันที่จริงแล้วกลับมีงานวิจัยบางชิ้นที่ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มากเกินไปกลับที่จะทำให้คุณภาพและความสม่ำเสมอของการตัดสินใจในระยะยาวนั้นลดลงเสียด้วยซ้ำ
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆว่า หากระบบนั้นต้องพึ่งพาข้อมูลที่เยอะจนเกินไป ตัวแปรต่างๆทั้งที่สำคัญมากและสำคัญน้อยมักจะถูกลดความสำคัญลงโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้แล้วมันยังเป็นการยากที่จะตรวจสอบได้ว่าตัวแปรใดๆคือตัวปัญหาของระบบนั้นๆในช่วงเวลาหนึ่ง อีกทั้งระบบการลงทุนที่ซับซ้อนมากๆยังมักมีความเสี่ยงต่อการ Overfitting Data หรือการออกแบบระบบซึ่งจับรายละเอียดยิบย่อยที่ไม่ใช้หลักสำคัญในฐานข้อมูลมากเกินไป จนทำให้ระบบการลงทุนพังทลายลงเมื่อตลาดเปลี่ยนแปลงในอนาคตเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นแล้ว ความยาก-ง่ายซับซ้อน ความล้ำลึกของเทคโนโลยี หรือความแปลกประหลาดของกลยุทธ์การลงทุน จึงไม่ใช่ปัจจัยที่คุณควรให้ความสนใจจนมากเกินไปครับ (ผลกำไรสูงๆเว่อร์ๆก็ไม่ใช่ตัวยืนยันความเสถียรยั่งยืนของระบบเช่นกันครับ)

10. ระบบการลงทุนไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ เพราะถ้าทุกคนใช้ระบบเดียวกันระบบเดียวกัน แล้วมันจะเป็นอย่างไร!?


Answer : เรื่องนี้ผมได้เคยอธิบายไปในหลายๆโพสท์เก่าๆเอาไว้แล้วว่ามันเป็นไปได้ยากมากๆ สาเหตุก็เพราะ …
– คนเรามีความเชื่อและศรัทธาที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วน ขนาดระบบ Mangmao All Time High ที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ “แมงเม่าคลับ” ยังไม่มีใครคิดที่จะเอาไปใช้กันตรงๆเป๊ะๆตามต้นฉบับเลยครับ เพราะมันดู “ง่าย” เกินไป จนทุกคนคิดว่าต้องเอาไปปรับแต่งมันเสียหน่อย
– คนเรามีความสามารถในการแบกรับความเสี่ยงที่ต่างกัน บางคนชอบเสี่ยง บางคนไม่ชอบ บางคนทนกับความผันผวนได้มาก บางคนทนกับความผันผวนได้น้อย ดังนั้นยากมากๆที่ทุกคนจะทนใช้ระบบหรือกลยุทธ์เดียวกันได้ตลอดไป
– กลยุทธ์หรือระบบการลงทุนที่ยั่งยืนส่วนใหญ่ง่ายที่จะเข้าใจแต่ยากที่จะทำ สาเหตุเพราะช่องว่างในการทำกำไรจากตลาด มักเกิดจากความไร้เหตุผลของผู้เล่นส่วนใหญ่ในตลาด และมันก็มักจะเกิดขึ้นในจุดที่ยากที่สุดในการตัดสินใจทำอะไรลงไปได้อย่างมีเหตุผลอยู่สม่ำเสมอ เช่น การซื้อหุ้นเมื่อเกิด Panic, การซื้อหุ้นเมื่อมันทำ All-Time High หรือแม้แต่การอยู่เฉยๆได้เป็นเดือนๆปีๆ
– ระบบการลงทุนที่ยั่งยืนส่วนใหญ่มีกลไกในการ “ถีบ” คนส่วนใหญ่ออกไปโดยอัตโนมัติ เช่น Win Rate ต่ำ, Maximum Drawdown สูง, ความผันผวนระหว่างการลงทุนสูง หรือแม้แต่ช่วง Flat Time ที่พอร์ทจะอยู่นิ่งๆนานมากๆ สิ่งเหล่านี้สามารถถีบแมงเม่าส่วนใหญ่ออกไปได้ในเวลาไม่นานนัก (ต่อให้ใช้ Robot มา Automated ให้ก็ไม่ใช่ว่าจะทนเรื่องพวกนี้ได้ง่ายๆครับ)
– คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถลงทุนอย่างเป็นระบบ และมีวินัยอย่างสม่ำเสมอได้ เพราะการลงทุนอย่างเป็นระบบต้องอาศัยความเข้าใจในศาสตร์หลายๆอย่างเป็นอย่างดี เช่น วิชาการลงทุน, วิชาสถิติ, การเขียนโปรแกรม รวมไปถึงความเข้าใจต่อ Profile ของระบบการลงทุนนั้นๆในช่วงเวลาต่างๆของตลาดเป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นแล้วมันจึงเป็นไปได้ยากมากๆที่คนส่วนใหญ่จะสามารถลงทุนอย่างเป็นระบบได้อย่างมีวินัยยาวนาน

image

ตารางที่ 2 : แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนรายเดือนและรายปีของระบบ Mangmao ATH ภายใต้การทดสอบอย่างเข้มงวดในเวลากว่า 25 ปี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพวกมันมีทั้งช่วงเวลาที่กำไรและขาดทุนสลับกันไป นอกจากนั้นแล้วยังมีช่วงเวลาที่ผลตอบแทนเป็น 0 หรือไม่ได้ทำการลงทุนนานหลายเดือนติดต่อกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความยากในเชิงปฎิบัติจนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจทำตามกลยุทธ์การลงทุนที่แสนจะเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพเหล่านี้ได้
และทั้งหมดนี้ก็เป็นความคิดที่ผมอยากจะแชร์ให้เพื่อนๆที่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนอย่างเป็นระบบได้อ่านกัน หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ
ปล. ส่วนใครที่ถามว่าแล้วมีใครที่รวยจากการเล่นหุ้นอย่างเป็นระบบตามหลักสถิติบ้างไหม ขอให้ไปลองไล่อ่านโพสท์เก่าๆ หรือไปหาหนังสือแมงเม่าคลับดูมาอ่านดูนะครับ ผมขี้เกียจจะเขียนใหม่อีกรอบแล้วครับ ฮ่าๆ :D

คำคมของเซียนหุ้น(ควรอ่านใว้)

บันไดของการลงทุน Value Way            

ถ้าเปรียบเทียบการลงทุนเหมือน "การปีนบันได" ที่ต้องเริ่มจากขั้นแรกก่อนที่จะขึ้นไปขั้นต่อๆ ไป เราสามารถแบ่งระดับการลงทุนของแต่ละคนได้ 7 ระดับดังต่อไปนี้
          

ระดับศูนย์: ไร้ระดับ (Non-Existent)

          
คนที่อยู่ในขั้นนี้เรียกว่า ไม่มีความรู้เรื่องการเงินเอาเสียเลย ไม่มีทั้งเงินเก็บและเงินลงทุนแต่อย่างใด เรียกว่ามีเงินเท่าไหร่ก็ใช้หมด ถ้าถามพวกเขาว่าพวกเขามีปัญหาอะไร จะได้คำตอบว่าเพราะหาเงินได้น้อยเกินไป คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่าถ้าพวกเขาหาเงินได้มากกว่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จริงๆ แล้วพวกเขาไม่เข้าใจว่า ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหาเงินได้ไม่พอ แต่ปัญหาเกิดจากนิสัยการใช้จ่ายเงินเกินตัวของตนเองมากกว่า
         

ระดับหนึ่ง: ช่างกู้ (Borrower)

         
 ดูๆ ไปแล้ว พวก"ช่างกู้" มักจะมีสถานะทางการเงินแย่กว่าพวก"ไร้ระดับ"เสียอีก คนอยู่ในระดับนี้มักจะใช้เงินที่หาได้ไปซื้อนู้นซื้อนี่จนหมด เรียกว่าใช้เงินเดือนชนเดือน ถ้ามีเงินไม่พอใช้ วิธีแก้ปัญหาของชนกลุ่มนี้ก็คือ "กู้เพิ่ม" ถ้าสมัครเครดิตการ์ดได้อีกหลายๆ ใบเพื่อเอาเงินบัตรใหม่มาหมุนจ่ายหนี้บัตรเดิมได้ ดูจะเป็นวิธีการที่วิเศษสุดๆ รวมทั้งการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ หรือเงินกู้ยืมจากญาติพี่น้องก็เป็นทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาทางการเงินของคนกลุ่มนี้  ไม่จำเป็นว่า ปัญหาจะเกิดเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น คนที่มีรายได้สูงแต่หาเงินได้ไม่พอใช้จ่ายก็อาจจะตกอยู่ในสภาพหนี้ท่วมหัวได้เช่นเดียวกัน
          พวก"ช่างกู้"มักจะพบว่าตนเองตกอยู่ในวังวนของหนี้สินเมื่อไม่มีหนทางให้กู้เพิ่มเติมได้อีกแล้ว เมื่อถึงจุดนั้น ส่วนใหญ่จะหมดหวังและจบลงในสภาพฐานะทางการเงินล้มเหลว ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงนิสัยการใช้จ่ายของตนเองแล้ว โอกาสที่จะ"ล้มละลาย"มีอยู่สูงทีเดียว
          

ระดับสอง: ช่างเก็บ (Saver)

         
 "ช่างเก็บ" มักจะเก็บออมเงินที่หาได้ในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ เงินที่เก็บได้ก็มักจะฝากเอาไว้ในธนาคารที่มี "ความเสี่ยงต่ำ'  ถึงต่ำที่สุด เช่น บัญชีออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากประจำ คนกลุ่มนี้มักจะเก็บเงินเอาไว้เพื่อ "ใช้จ่าย" มากกว่านำไป "ลงทุน" เช่น เก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรือ ซื้อเครื่องเสียงชุดใหม่ ฯลฯ
          พวกเขาไม่ชอบ"ความเสี่ยง" แม้แต่นิดเดียว วิธีการลงทุนที่เยี่ยมยอดของคนกลุ่มนี้ก็คือ การซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือฝากเงินไว้กับธนาคารที่เขามั่นใจได้ว่าเงินต้นไม่มีวันลดลง ซึ่งในความเป็นจริง พวกเขาไม่เข้าใจว่าผลตอบแทนจากเงินฝากธนาคารที่แท้จริงนั้นติดลบ เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับ ในระยะยาวแล้วเงินออมที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคต เมื่อถึงคราวเกษียณ พวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือเงินบำเหน็จบำนาญในการเลี้ยงชีพเป็นหลัก
          

ระดับสาม: นักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor)

         
 นักลงทุนประเภทนี้ รู้สึกว่าตนเองมีความจำเป็นจะต้องลงทุนบ้าง ส่วนใหญ่มักจะลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ พูดได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีการศึกษาดี ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม"คนชั้นกลาง"ของประทศ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง"การลงทุน"แล้ว คนกลุ่มนี้เรียกว่าแทบจะไม่มีความรู้เรื่องการเงินแต่อย่างใดหรือถ้ามีก็มีน้อยมาก
          
          นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทหนึ่งเรียกว่า พวกชอบอยู่ในกระดอง (Gone-into-a-shell Passive Investor) คือ กลุ่มคนที่มักจะคิดอยู่เสมอว่า ตนเองไม่มีวันที่จะเข้าใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ได้
          คำพูดส่วนใหญ่ของคนในกลุ่มนี้ที่มักจะได้ยินก็คือ...
          "ผมหรือดิฉันไม่เก่งเรื่องตัวเลข, มันยุ่งยากเกินไป,  บริษัทและผู้จัดการกองทุนดูแลผลประโยชน์ได้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง, ฉันยุ่งจนไม่มีเวลาคิดเรื่องลงทุน ฯลฯ"
          ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเพียงคำแก้ตัวเพื่อให้ตัวเองปลอดจากความรับผิดชอบในเรื่องเงินของตนเองซะมากกว่า

          นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสอง คือ พวกที่ชอบคิดว่า 'ไม่มีทางทำได้' (It-Can't-Be-Done Passive Investor) นักลงทุนประเภทนี้เข้าใจว่ามีทางที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคาร แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้อยู่นอกเหนือความสามารถของตนเองและคนอื่น คนที่จะลงทุนได้ประสบความสำเร็จในความเห็นของคนกลุ่มนี้จะต้องเป็นคนที่มี"พรสวรรค์" หรือไม่ก็เป็นคนที่"โชคดี"ที่รู้ข่าววงใน หรือไม่ก็ต้องเป็น"ผู้เชี่ยวชาญ"ทางการเงินเท่านั้น
          พวกเขามักจะอ้างว่า ที่คนอื่นรอบๆ ตัวประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นเป็นเพราะ"โชค"มากกว่า"ฝีมือ" ส่วนใหญ่มักจะพูดประชดประชันให้คนอื่นหมดกำลังใจ และพยายามให้มาอยู่เป็นพวกเดียวกัน พวกเขากลัวที่จะเห็นคนอื่นได้ดีกว่า เลยพยายามลากคนอื่นๆ รอบตัวไม่ให้เด่นกว่าตนเอง ส่วนใหญ่จะวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น รวมทั้งหา"เหตุผล"ที่จะบอกว่าทำไมเราถึงไม่สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ และมักจะโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาบอกนั้นเป็นความจริง
          ถ้าเคยคุยกับคนเหล่านี้มักจะได้ยินว่า "โอ้ย ที่ทำได้นะเป็นเพราะฟลุ้คซะมากกว่า ผมไม่เชื่อหรอกว่าที่คุณบอกน่ะมันจะเป็นจริง ใครถือหุ้นไว้ไม่ยอมขายก็บ้าแล้ว ใครๆ เขาก็ซื้อมาขายไปทั้งนั้นหละ ผมไม่เชื่อหรอกว่าถือหุ้นนานๆ จะได้กำไร สักวันราคาก็กลับมาเท่าเดิม รีบๆ ขายไปเถอะ เดี๋ยว 'ขาดทุน' จะหาว่าไม่บอก"
          สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่ามักจะเจอกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าท่านได้พบได้เจอนักลงทุนประเภทนี้ ขอแนะนำให้อยู่ห่านงๆ ไม่ต้องตอบโต้หรือ พยายามให้เขาเข้าใจในสิ่งที่คุณทำ อย่าท้อถอยกับคำสบประมาททั้งหลายที่ได้รับ จงมุ่งมั่นในแนวทางการลงทุนของคุณต่อไป เมื่อไหร่ที่คุณประสบความสำเร็จ เขาจะเข้าใจคุณเอง
         

 นักลงทุนผู้ล้าหลังประเภทสุดท้ายคือ นักลงทุนผู้ตกเป็น 'เหยื่อ' (Victim Passive Investor)

          เช่นเดียวกับสองพวกแรก นักลงทุนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนที่ฉลาด มีการศึกษา มีหน้าที่การงานดี แต่เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว นักลงทุนประเภทนี้ไม่มี 'หลักการ' หรือ 'กฎ' ในการลงทุนแต่อย่างไร มักจะชอบซื้อหุ้นตอนราคาสูงเพราะกลัวตกรถไฟ แต่แล้วก็ตกใจขายเมื่อเห็นราคาหุ้นปรับตัวลง
          ส่วนใหญ่มากกว่า 90% มักจะขาดทุนในตลาดหุ้น แต่กระนั้นก็ยังไม่เข็ดและพยายามค้นหา"เคล็ดลับ"ในการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป พวกเขามองตลาดหุ้นเหมือน"บ่อนพนัน"ที่ถูกกฎหมาย มีคนได้ก็จะต้องมีคนเสีย รวมทั้งมันน่าตื่นเต้นเร้าใจ มีเรื่องให้ลุ้นได้ทุกวัน
          สังเกตดูคนกลุ่มนี้ได้ง่ายๆ ก็คือ ชอบพึ่งพาคนอื่นในการลงทุน มักชอบถามว่า"ตอนนี้ ซื้อหุ้นอะไรดี" หรือ "ตอนนี้ หุ้นตัวไหนน่าเล่น"  กลยุทธ์คือ ถ้าถามหลายๆ คนแล้วได้ชื่อหุ้นมาตรงกัน แสดงว่าเป็น"หุ้นที่ดี" ซื้อได้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วมักไม่ทราบว่าจะ"ขาย"ตอนไหนดี ส่วนใหญ่จะขายก็เมื่อพบว่าราคาหุ้นลดลงมาต่ำกว่าทุนไปแล้ว
          ถ้าสังเกตจะพบว่า วันไหนซื้อหุ้นแล้ว"ขาดทุน"จะเห็นเขาเงียบๆ จ๋อยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ได้"กำไร" เขาจะป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า วันนี้ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้
          นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ค่อยมี"ความอดทน"เท่าไหร่นัก อะไรที่ได้เงินมาง่ายๆ ก็จะรีบกระโดดเข้าไปทันที เช่น หุ้นจอง หรือ หุ้นเก็งกำไรทั้งหลาย พวกเขาอาจจะซื้อขายในเครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย เช่น Cover-Warrant เช่น SCIB-C1 แต่ถ้าถามว่าวอร์แรนท์ชนิดนี้คืออะไร ต่างกับวอร์แรนท์ธรรมดาอย่างไร พวกเขามักจะไม่ทราบว่ามันคืออะไรต่างกันอย่างไร แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือในตลาดกำลัง"เล่น" ตัวนี้กันอยู่
          มีผู้รู้บอกเอาไว้ว่า นักลงทุนประเภทนี้พยายามค้นหา"สูตรสำเร็จ"ในการลงทุนเพื่อที่วันหนึ่งเขาจะลงทุนได้กำไรทุกครั้ง และจะกลายเป็นมหาเศรษฐีในวันข้างหน้า แต่สิ่งที่พวกเขาลืมก็คือ ลืมที่จะ"คิดด้วยตนเอง"

ระดับที่สี่: นักลงทุนอัตโนมัติ (Automatic Investor)


ถ้าใครมาถึงระดับนี้คงมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ความสำเร็จในการลงทุนนั้นอยู่แค่เอื้อม และอิสรภาพทางการเงินกำลังรอท่านอยู่
นักลงทุนระดับนี้เข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าการลงทุนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นต่างจากนักลงทุนผู้ล้าหลัง (Passive Investor) ก็คือ นักลงทุนอัตโนมัติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนของตนเอง และมีแผนการในการลงทุนระยะยาวที่ชัดเจนในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้

พวกเขาไม่ค่อยสนใจที่จะ"เก็งกำไร"สักเท่าไหร่นัก ถ้าจะเก็งกำไรก็มักจะใช้เงินเพียง 5-10% ของเงินลงทุนเท่านั้น พร้อมทั้งมีกฎตายตัวที่แน่นอนที่จะ"จำกัด"ความเสี่ยงของการเก็งกำไร

ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการลงทุนที่เน้น"ความเรียบง่าย" เช่น ลงทุนระยะยาวในหุ้นพื้นฐานดี หรือซื้อกองทุนที่มีการบริหารงานที่ดี โดยมีโอกาสในการทำผลตอบแทนได้ 10%+ ต่อปี

พวกเขามักไม่ชอบใช้บัญชีมาร์จินในการซื้อขายหุ้น หรือเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่ "มืออาชีพ" ชอบใช้กัน แต่พวกเขาลงทุนด้วยแผนการลงทุนอัตโนมัติ เช่น แบ่งเงินส่วนหนึ่งทุกๆ เดือนเพื่อนำไปซื้อหุ้นหรือกองทุน

ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะ"เก็บเงิน" ที่เหลือจากการใช้จ่าย เช่น ทำงานได้เงินเดือนประจำ เมื่อเงินเดือนออกก็เริ่มใช้จ่ายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดว่าจะใช้จ่ายรายการไหนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เมื่อถึงสิ้นเดือนมักจะพบว่า เงินเดือนที่ได้รับมานั้นหมดลงพอดี ถึงแม้จะตั้งใจไว้ว่าจะเก็บเงิน แต่ก็มักมีค่าใช้จ่าย "ฉุกเฉิน" ในแต่ละเดือนอยู่เสมอๆ สุดท้ายแล้วก็เก็บเงินไม่ได้สักที

สำหรับนักลงทุนระดับนี้จะใช้จ่ายเงินที่เหลือจาก "เงินเก็บ" นั่นคือเมื่อได้รับเงินเดือนจะแบ่งนำไปลงทุนส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน อาจแบ่งเป็นเงินเก็บประมาณ 30-50% ที่เหลือถึงนำไปใช้จ่าย
ระดับขั้นของการลงทุนระดับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวย พวกเขาเข้าใจว่า อิสรภาพทางการเงินไม่ได้เกิดจาก "โชค" แต่เกิดจากความอดทนและการวางแผนทางการเงินที่ดี

ระดับห้า: นักลงทุนผู้ก้าวหน้า(Active Investor)


ในสองระดับสุดท้ายของบันไดของการลงทุน เป็นระดับที่มีน้อยคนจะไต่มาถึง ซึ่งถ้าถามคนส่วนใหญ่แล้วมักคิดว่าต้องมาถึงสองระดับสุดท้ายแล้วเท่านั้นถึงจะ"รวย" แต่ในความเป็นจริง เพียงแค่มาถึงระดับสี่หรือนักลงทุนอัตโนมัติก็เพียงพอที่ทำให้ท่านมีเงินได้แล้ว

ก่อนที่จะมาถึงระดับห้าได้ นักลงทุนจำเป็นจะต้องผ่านระดับสี่มาก่อนแล้วเท่านั้น มีตัวอย่างมากมายที่หลายคนอยากจะ"รวย" เพียงชั่วข้ามคืน กระโดดมาที่ระดับห้าอย่างรวดเร็ว เพียงเพราะเห็นหลายๆ คนทำเงินได้อย่างมากมายจากตลาดหุ้น จึงอดใจไว้ใม่ได้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในความร่ำรวยที่เกิดขึ้น สุดท้ายก็ต้อง"ขาดทุน" จนถึงกับบอกตัวเองว่าจะเลิก"เล่นหุ้น"ไปเลยก็มี

นักลงทุนระดับห้าเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การที่จะมาถึงระดับนี้ได้จำเป็นต้องมี"หลักการ"และ"กฎ"ในการลงทุนที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ถึงแม้พวกเขาจะลงทุนในเครื่องมือที่แตกต่างกัน เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม แต่หลักการและกฎเกณท์ต่างๆ ที่ใช้ ไม่ได้มีความแตกต่างกัน
พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และพยายามที่จะทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็สามารถ"จำกัด"ความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี ผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20-100% ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับนักลงทุนระดับนี้

ขณะที่คนส่วนใหญ่"ทำงานเพื่อเงิน" แต่นักลงทุนระดับห้า"ใช้เงินทำงาน"อย่างขะมักเขม้น

ระดับหก: นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ (Capitalist)


ระดับขั้นสุดท้ายของนักลงทุนก็คือ Capitalist หรือนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ นักลงทุนระดับนี้เป็นผู้สร้างความเจริญให้กับสังคมและมนุษยชาติ เป็นผู้สร้างงานให้กับคนมากมาย และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของคนในโลกให้ดีขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ การที่สิ่งต่างๆ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะคงอยู่ตลอดไปถึงแม้พวกเขาจะจากโลกนี้ไปแล้ว มีน้อยคนที่จะมาถึงระดับขั้นนี้ได้ในโลก

ลองนึกถึงฟอร์ด, ร็อคกี้เฟลเลอร์, หรือแม้กระทั่งบิล เกตต์ ซึ่งเป็นผู้ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนเราทุกคนในโลกนี้ ด้วยรถยนต์ราคาถูก หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่คนทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน

ทั้งหมดของบันไดการลงทุนจัดแบ่งโดย จอห์น เบอร์เล่ย์ (John R. Burley) ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.johnburley.com

จะเห็นว่าบันไดของการลงทุนมีหลายขั้นแตกต่างกันไป แต่การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ จำเป็นจะต้องมาถึงอย่างน้อยระดับที่สี่ของการลงทุน (Automatic Investor) ทำให้การศึกษาหาความรู้ทางการลงทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในปัจจุบันอัตราผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับธนาคารหรือดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบ การนำเงินไปฝากไว้ในธนาคารเฉยจึงเปรียบเสมือนการที่เงินมีค่าลดลงไปทุกวัน ดังนั้นการหาช่องทางการลงทุนที่ดีกว่าจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและทดลองปฏิบัติ
ว่าแต่ว่า วันนี้ท่านมาถึงระดับสี่ของการลงทุนหรือยัง?--จบ--

วิธีการสมัคร Perfect Money พร้อมสอนการใช้งาน

วิธีการสมัคร Perfect Money พร้อมสอนการใช้งาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ   Perfect Money     ====>   http://thaiexchanger.igetweb.com/product/1085304/Perfect%20Money.html
รับบริการสั่งจองซื้อ Okpay  และ Perfect Money ในราคาส่ง  สำหรับออเดอร์  3,000$ ขึ้นไป

เงื่อนไขการสั่งซื้อ
1.  ลงทะเบียนสมาชิกที่  www.ThaiExchanger.com
1.  อัตราค่าดำเนินการ
จำนวน 3,000$ - 5,000$  =  อัตราแลกเปลี่ยน + 2  บาท / $
จำนวน 5,000$ - 9,999$  =  อัตราแลกเปลี่ยน + 1.8 บาท / $
จำนวน 10,000$ ขึ้นไป   =  อัตราแลกเปลี่ยน + 1.5 บาท / $
2.  ชำระเงิน 50%  สำหรับยอดสั่งจอง
3.  ระยะเวลาการรอคอย 2-5 วันทำการ  (ชำระเงินส่วนที่เหลือเมื่อสินค้าพร้อมโอน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณเปิ้ล  084-1583366
ThaiExchanger.com

ขั้นตอนการเปิดบัญชี  Perfect Money
ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ  ครั้งละ  0.5%  ( หักจากผู้ส่งเงิน )
1. คลิกเลือก  ลงทะเบียน   เพื่อสร้างบัญชี
2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ตรงตามความเป็นจริง

3.  หลังกดยืนยันการสมัคร  ระบบจะตอบรับการลงทะเบียน  และส่ง ID สำหรับล็อคอินเข้าใช้งานให้เราทางอีเมล์

4. ตรวจสอบเลข ID  ( เป็นเลข 6 หลัก )  หากได้รับแล้วสามารถนำเข้าไปล็อคอินใช้งานได้ทันที

ขั้นตอนการยืนยันบัญชี   PERFECTMONEY (PM)

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล  ===>  www.cashth.com
สำหรับการยืนยันตัวตนสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- พาสปอต หรือหนังสือเดินทางต่างประเทศ หากไครไม่มีให้ไปทำที่ กรมศุลกากร ใช้บัตรประชาชน+เงิน 1,040 บาท ใช้เวลาทำราวๆ 15นาที และรอรับพาสปอตทาง EMS ราวๆ 5วัน
- บิลชื่อที่อยู่ ENG สำหรับคนที่ไม่มีลองใช้บิลค่าโทรศัพท์ดูครับ เช่นผมใช้มือถือค่าย DTAC ก็โทรไปที่ศูนย์ CALL CENTER เพื่อแจ้งให้ส่งบิลมาเป็นแบบ ENG ซึ่งเราจะได้รับในรอบบิลถัดไป
อาจจะมองว่ายุ่งยาก แต่ให้ไปทำไว้ครับเพราะการยืนยันตัวตนกับต่างประเทศทุกที่จะใช้ พาสปอต+บิล หากเรามี 2อย่างนี้ไวละก็จะง่ายและรวดเร็วมากคับ
วิธีการยืนยันตัวตนกับ PerFect Money













ขั้นตอนการโอนเงินระหว่างบัญชี  Perfect Money
1. เ้ข้าหน้าเว็บ  แล้วกด Login  กรอกข้อมูล id + pass  เพื่อเข้าสู่ระบบ

2. กดส่งเงิน  หากต้องการโอนให้บุคคลอื่น

3. คลิกเลือกชำระเงินเดี่ยว

4. กรอกบัญชีผู้รับโอน  และจำนวนเงิน

5. ตรวจสอบความถูกต้องและกดยืนยันการโอน

6. ระบบรับคำสั่งโอนเงิน  ให้ผู้รับตรวจสอบยอดเงินปลายทางได้ทันที

7. สามารถตรวจสอบประวัติการโอนเงินย้อนหลังได้ที่เมนู   ประวัติศาสตร์

คำคมนักลงทุน (อ่านไว้เตือนสติ)

You will never win if you never begin. (Helen Rowland)
คุณไม่มีทางสำเร็จได้ ถ้าคุณไม่เริ่มต้น
 Almost everything comes from nothing.(Henry F. Amiel)
เกือบทุกสิ่งบนโลกใบนี้ ล้วนมาจากความไม่มีเหมือนกันทั้งนั้น
The way to get started is to quit talking and begin doing. (Walt Disney)
หนทางสู่การเริ่มต้น คือ การหยุดพูด และเริ่มลงมือทำ
 In every phenomenon the beginning remains always  the most notable moment. (Carlyle, Thomas)
ในทุกปรากฎการณ์ จุดเริ่มต้นมักจะเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำที่สุดเสมอ
What is not started today is never  finished tomorrow. (Johann Wolfgang von Goethe)
สิ่งที่ไม่ได้เริ่มต้นในวันนี้ ก็จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่งนี้เช่นกัน
 The indispensable first step to getting the things you want out of life is this: Decide what you want.
(Ben Stein)
ก้าวแรกที่สำคัญในการได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการในชีวิตก็คือ ถามตัวเองก่อนว่าคุณต้องการอะไร
Start by doing what’s necessary; then do what’s possible; and suddenly you are doing the impossible. ( Saint Francis of Assisi)
จงเริ่มต้นด้วยการทำสิ่งที่จำเป็นก่อน จากนั้นจึงทำสิ่งที่เป็นไปได้ และสุดท้าย คุณก็จะทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
 Start wherever you are and start small. (Rita Baily)
จงเริ่มต้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน และจงเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ
Failure is the opportunity to begin again more intelligently. (Henry Ford)
ความล้มเหลวเป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นอีกครั้ง แต่เป็นการเริ่มต้นอย่างฉลาดกว่าเดิม
 Life's hard. It's even harder when you're stupid. (John Wayne)
ชีวิตเป็นเรื่องยาก แต่มันจะยิ่งยากขึ้นไปอีกถ้าคุณงี่เง่า
Do not wait until the conditions are perfect to begin. Beginning makes the conditions perfect.
(Alan Cohen)
อย่ารอจนกว่าปัจจัยต่าง ๆ จะพร้อมสำหรับการเริ่มต้น เพราะการเริ่มต้นต่างหากที่จะทำให้ปัจจัยทุกอย่างพร้อมเอง
The secret to living the life of your dreams is to start living the life of your dreams today, in every little way you possibly can. (Mike Dooley)
เคล็ดลับของการใช้ชีวิตตามความฝันก็คือ การเริ่มต้นใช้ชีวิตกับความฝันที่มีในวันนี้ ทำสิ่งเล็ก ๆ ที่คุณสามารถทำได้
Life is not a dress rehearsal. Stop practicing what you’re going to do and just go do it.  (Marilyn Grey)
ชีวิตไม่ใช่การลองเสื้อ หยุดฝึกซ้อมสิ่งที่กำลังจะทำ แล้วลงมือทำมันจริง ๆ เสียเถอะ
Nobody can go back and start a new beginning, but anyone can start today and make a new ending.
(Maria Robinson)
ไม่มีใครเดินกลับหลังและเริ่มต้นใหม่ได้  แต่ทุกคนสามารถเริ่มต้นทุกวัน และกำหนดจุดสิ้นสุดจุดใหม่ได้
Nothing is predestined. The obstacles of your past can become the gateways that lead to new beginnings.
(Ralph Blum)
ไม่มีอะไรกำหนดได้ล่วงหน้า อุปสรรคในอดีตของคุณอาจกลายเป็นหนทางที่นำไปสู่การเริ่มต้นใหม่
Don’t wait for something big to occur. Start where you are, with what you have, and that will always lead you into something greater. (Mary Manin Morrissey)
อย่ารอให้สิ่งที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เริ่มต้นจากที่ที่คุณอยู่ กับสิ่งที่คุณมี แล้วมันจะนำไปสู่บางสิ่งที่ยิ่งใหญ่เอง
The secret to a rich life is to have more beginnings than endings. (Dave Weinbaum)
เคล็ดลับสู่ชีวิตที่ร่ำรวย คือ การใช้ชีวิตให้มีจุดเริ่มต้นมากกว่าจุดจบ
Life is n’t about finding yourself. Life is about creating yourself. (George Bernard Shaw)
ชีวิตไม่ใช่การค้นหาตัวเอง แต่มันคือการสร้างตัวของตัวเองขึ้นมาต่างหาก
The beginning of knowledge is the discovery of something we do not understand. (Frank Herbert )
จุดเริ่มต้นของความรู้ คือการค้นพบบางสิ่งที่เราไม่เข้าใจ
Don't let your past decide your future. (Frederick R. Bliss)
อย่าปล่อยให้อดีตมาตัดสินอนาคต
 จงกลัวในเวลาที่ทุกคนกำลังโลภ และจงโลภในเวลาที่ทุกคนกำลังกลัว (Warren Buffett)
จงรู้ว่าคุณถืออะไรอยู่บ้าง และจงคิดว่าคุณถือมันไปทำไม (Peter Lynch)
นักลงทุนควรจะทำตัวให้เป็นนักลงทุนเสมอไม่ใช่นักเก็งกำไร (Benjamin Graham)
ตลาดหุ้นมีแต่คนที่รู้ราคาของทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไม่เคยรู้มูลค่าของมันเลย (Philip Fisher)
คุณรู้จักเศรษฐีสักกี่คนที่รวยขึ้นมาจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ (Robert G. Allen)
ไม่กล้า ก็ไม่มีวันเดินหน้า (วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์)
ผมเป็นคนเดินช้า แต่ผมไม่เคยเดินถอยหลัง (อับราฮัม ลินคอล์น)
อย่าเชื่อคำกล่าวที่ว่า การเล่นหุ้นเป็นทางลัด ไปสู่เงินล้าน เพราะตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มี วิธีการหาเงินวิธีใด ยากลำบากเท่ากับ
การเล่นหุ้น (Humphrey Neill)
ความผิดพลาดร้ายแรงของผู้เล่นหุ้น คือ การไม่ยอมรับความผิดพลาด ถือหุ้นต่อไปประดุจคนตาบอด ปฏิเสธที่จะยอมรับว่า การตัดสินใจของตนผิด (Bernard Baruch)
จงทำการซื้อขายหุ้นที่ active ละเว้นหุ้นที่ขึ้นลง เชื่องช้าหรือไม่ขึ้นลงเลย (วิลเลี่ยม แกนน์)
หากไม่คิดจะถือหุ้น 10 ปี อย่าได้ถือแม้แต่นาทีเดียว (ปีเตอร์ ลินช์)
อย่าเด็ดดอกไม้ แล้วรดน้ำให้หญ้า (ปีเตอร์ ลินช์)
ราคาเป็นสิ่งที่คุณจะต้องจ่าย มูลค่าที่แท้จริงเป็นสิ่งที่คุณจะได้รับ (Warren Buffet)
ระยะเวลาที่เราชอบในการถือครอง คือตลอดไป (Warren Buffet)
เลือกธุรกิจที่แม้แต่คนโง่ยังสามารถดำเนินงานได้ เพราะไม่ช้าก็เร็ว ไม่แน่ว่าจะมีไอ้โง่ที่ไหนมาดำเนินธุรกิจให้กับบริษัทนั้น
(Peter Lynch)
ตลาดการเงินโดยปกติแล้วเป็นสิ่งที่ทำนายไม่ได้ ดังนั้นแต่ละคนจะมีหลากหลาย scenario 
ความคิดที่ว่าคุณสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ขัดแย้งกับมุมมองของผมที่มีต่อตลาด  (George Soros)
เอาชีวิตให้รอด แล้วค่อยทำกำไร(George Soros)
ห้ามขาดทุน
สะสมและเพิ่มมูลค่า
รักษากฎ
ถ้าทนเห็นหุ้นที่ตนถืออยู่มีราคาลดลงไป 50 เปอร์เซนต์ไม่ได้ ก็อย่าลงทุนในตลาดหุ้น
(Warren E. Buffet)
ยับยั้งชั่งใจที่จะไม่เข้าไปเล่นในทุกๆเกม ทุกๆเวลา
มีภาวะจิตใจที่มั่นคง
มีความรู้เกี่ยวกับตลาด
มีวินัย
อยู่ห่างจากตลาดมากพอเพื่อจะไม่ถูกภาวะตลาดครอบงำ 
ขาดทุนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อคุณนั้นผิดพลาดไป
กุญแจสำคัญในการเล่นหุ้นนั้น คือความมีวินัยและความสม่ำเสมอ แม้ว่านักเล่นหุ้นหลายๆคน จะสามารถจำสิ่งต่างๆที่เราได้สอนไปถึงร้อยละ 80 ก็ตาม แต่สิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ก็คือ เชื่อมั่นในระบบการลงทุนของเขา ถึงแม้ว่าจะต้องเจอกับช่วงเวลาแย่ๆก็ตาม
(Richard Dennis, on Turtle Trading)
ความชำนาญการในการเล่นหุ้นที่แท้จริงนั้น มาจากการที่คุณได้เข้าใจว่า  การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น มีความสำคัญน้อยถึงเพียงไหนในกระบวนการเล่นหุ้นทั้งหมด และสิ่งที่สำคัญเกินกว่าจะประมาณค่าได้ ในการที่จะทำกำไรอย่างสม่ำเสมอในตลาดหุ้นก็คือ ทัศนคติ ละความเชื่อที่ถูกต้องของคุณเอง (Bob Koppel)
ตลาดหุ้นนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมันก็จะเป็นอย่างนั้นตลอดไป (Jack D. Schwager)
นักเล่นหุ้นทางเทคนิคควรจะสามารถยอมรับกับการขาดทุนเพียงเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นจากระบบการลงทุนของพวกเขามากกว่านักเล่นหุ้นด้วยพื้นฐาน โดยนักเล่นหุ้นที่ดีนั้น ควรจะยอมรับว่าตลาดหุ้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงออกมา คุณไม่ควรนำความทะนงตน หรือความเห็นส่วนตัวมาทำลายระบบการลงทุนที่ดีของคุณ (Jerry Parker)
หากคิดจะเป็นนายของเงินตรา จงเป็นนายของตนเองให้ได้เสียก่อน (J.P.Morgan)
ปรัชญาของผมคือหุ้นทุกตัวนั้นแย่ และมันจะยังเป็นอย่างนั้นจนกระทั่งราคาของมันวิ่งขึ้นไป และหากราคาของมันลดลง คุณต้องรีบตัดขาดทุนโดยเร็ว.. การปล่อยให้การขาดทุนบานปลายนั้น เป็นข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักลงทุนส่วนใหญ่ (William)
อย่าพยายามที่จะซื้อให้ต่ำที่สุด และขายที่จุดสูงสุด ไม่มีใครทำได้ นอกจากคนโกหก (Bernard Baruch)
มีคนไม่กี่คนที่ทำผิด โดยการคิดว่าต้องทำทุกอย่างตลอดเวลา แต่กลับมีคนหลายๆคนในตลาดหุ้น ที่พยายามซื้อ-ขายอยู่ตลอดเวลา  (Jesse Livermore)
นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มักถูกเสมอเมื่ออยู่ในช่วงกลางๆของแนวโน้ม แต่มักผิดเสมอเมื่ออยู่ในช่วงปลายของแนวโน้ม ทั้งขาขึ้น และขาลง
(Humphrey B. Neill)
กฎข้อแรกของผมก็คือ อย่าขาดทุน ซึ่งถ้าเทียบกันแล้ว การเสียโอกาสทำกำไรไปนั้นถือเป็นเรื่องเล็กมาก เพราะว่ามันมักจะมีโอกาสใหม่ๆเข้ามาหาเราอยู่เสมอ (Burt Dohmen)
จิตของคุณนั้นจะเป็นผู้กำหนดเอง ว่าตลาดหุ้นดีหรือไม่, ทุกข์หรือสุข, และรวยหรือจน (Edmund Spenser)
โดยทั่วไปแล้ว เราทุกคนนั้นเล่นหุ้นไปตามความเชื่อของเรา ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราได้ยึดมั่นในสิ่งที่เราเชื่อแล้ว เรามักจะไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงมัน และเมื่อเราเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เรามักจะสันนิษฐานว่าเราได้นำเอาข้อมูลทุกๆอย่าง มาวิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว แต่ในความเป็นจริง ความเชื่อของเรา ซึ่งเป็นผลจากการเลือกที่จะรับรู้สิ่งต่างๆในตลาดหุ้น อาจได้ทำลายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดออกไปแล้วก็ได้ (Van K. Tharp, Ph.D.)
ผมจะไม่ยอมให้ความสำเร็จของวันวาน มาทำให้ผมพึงพอใจกับทุกๆวันนี้ เพราะนี่คือพื้นฐานสำคัญของความล้มเหลว (Og Mandino)
ตลาดหุ้นสามารถจะทำตัวไร้เหตุผลได้ยาวนานมากกว่าที่คุณ จะสามารถทนอยู่กับการหมดตัวของคุณได้
(John Maynard Keynes)
การทำผิดเป็นเรื่องที่รับได้ แต่ปล่อยให้มันผิดต่อไปเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ บางทีเราก็เลือกไม่ได้ที่จะทำผิดพลาดไป แต่หากเรายังไม่รู้จักแก้ไข นั่นแหละคือความผิดพลาดที่แท้จริง การจะเล่นหุ้นให้สำเร็จได้นั้น แน่นอนคุณ ต้องมีความชำนาญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ คุณต้องรู้จักบริหารเงินทุนของคุณให้ดี (Money Management) นักเล่นหุ้นที่ดีต้องรู้จักจัดการกับการขาดทุนของเขา พวกเขาไม่ค่อยห่วงกับการทำกำไรเท่าไหร่นัก
(MARK MINNERVINI)
ทุกๆช่วงขณะในตลาดหุ้นนั้นมีความเฉพาะตัวของมันเอง.. และคุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ในการที่จะทำกำไรในตลาดหุ้น (Mark Douglas)
ถ้านักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ เรียนรู้ที่จะพึ่งพาความสามารถของตนเองสักครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่พวกเขาทำ พวกเขาจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอีกเยอะ
(Bill Lipschutz)
ผมรู้ว่ามันอาจจะฟังดูแปลกๆสำหรับนักเล่นหุ้นหลายๆคน แต่มันมีข้อแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์หุ้นได้ดี กับการเล่นหุ้นได้ดี 
การวิเคราะห์หุ้นให้ละเอียดมากขึ้นไม่สามารถทำให้ผลการเล่นหุ้นดีขึ้นมาได้นัก และมีนักเล่นหุ้นหลายๆคน ที่ติดกับดักอยู่ในวงจรนี้ พวกเขาคิดแต่ว่าการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น จะทำให้พวกเขามั่นใจว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้น จะเป็นสิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการเล่นหุ้นได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของนักเล่นหุ้นโดยทั่วไป และเป็นสิ่งที่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ตระหนักถึง จนกระทั่งพวกเขาคิดได้ว่าคุณไม่สามารถใช้การวิเคราะห์หุ้น มาเอาชนะต่อความกลัวต่อการผิดพลาดหรือการขาดทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
(Mark Douglas, Trading In The Zone)
หุ้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนอื่นๆ ทุกชนิด อย่ากลัวความเสี่ยงจนไม่กล้าลงทุนในหุ้น   มีหุ้นเป็นพันๆ ตัวในตลาดที่ทำให้เรารวยได้ เป็นลูกจ้างอย่างเดียวโดยไม่ลงทุน ไม่มีรวยหรอก (Jim Cramer)
ถ้าทนขาดทุนหุ้นสัก 20% ไม่ไหว ก็อย่าไปยุ่งกับหุ้น  ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ผู้ลงทุนในหุ้นต้องเข้าใจและยอมรับได้  (หากรับไม่ได้อย่าข้องแวะ ให้กอดเงินฝากน้ำตานองหน้าต่อไป) ( John (Jack) Bogle (Vanguard) )
ถ้าเราได้หุ้นของกิจการดีๆ ที่มีผู้บริหารที่ดี เราจะถือหุ้นบริษัทนี้ไปชั่วกาลนาน (Warren Buffet )
เราได้นั่งสบายใต้ร่มเงาไม้ในวันนี้  ก็เพราะมีคนปลูกต้นไม้ไว้นานมาแล้ว” ผู้ ลงทุนที่ทำการบ้าน ศึกษา วิเคราะห์ ให้หนัก เมื่อเจอสิ่งที่ใช่แล้ว ก็ต้องรู้จักอดทนถือยาวๆ รอคอยดอกผล เราจะสบายในวันหน้าเมื่อราคามันขึ้นไปเพราะมีคนเห็นในภายหลัง และในระหว่างทางก็ได้ปันผลด้วย (Warren Buffet)
ในโลกการลงทุน “ถ้าการลงทุนมันไม่ยากสักหน่อย ใครๆ ก็รวยแล้วสิ” ให้กองทุนรวมช่วยให้เงินของคุณทำงาน โดยคุณไม่ต้องทำการบ้านยากๆ ไปตั้งใจทำงานของคุณเองดีกว่า (Charlie Munger)
 ”อย่าไปฟังรัฐบาล เพราะไม่ทำให้เรารวยขึ้นมาได้หรอก รัฐบาลที่ไหนๆ ก็มีแต่โกหก บิดเบือนความจริง และทำแต่เรื่องผิดๆ”   เงิน มีหน้าที่ทำงานของมันต่อไป  อย่าให้การเมืองภายในมาทำให้พอร์ตลงทุนเหี่ยว (Jim Rogers)
 "An investment in knowledge pays the best interest" (Benjamin Franklin)
"การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือ การลงทุนในความรู"
 "Financial peace isn't the acquisition of  stuff.It's learning to live on less than you make,
so you can give money back and have money to invest.You can't win until you do this." (Dave Ramsey
"อิสรภาพทางการเงิน มันไม่ใช่การเอาสิ่งโน้นสิ่งนี้มาผสมปนเปกัน มันคือการเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยเงินที่น้อยกว่าที่หา
ได้ ซึ่งมันจะทำให้คุณมีเงินเหลือคืนให้สังคมและมีเงินลงทุน คุณไม่มีทางได้มันมาถ้าไม่ทำเช่นนี้"
 ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีการไหนเลือกหุ้นสุดท้ายสิ่งที่จะตัดสินว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวคือความสามารถในการเพิกเฉยต่อความกังวลกับเรื่องต่างๆในโลกได้ยาวนานพอที่จะทำให้การลงทุนของคุณ ประสบความสำเร็จ
สิ่งที่จะกำหนดชะตากรรมของนักลงทุนไม่ใช่ความเฉลียวฉลาดแต่เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ต่างหาก นักลงทุนขี้ตกใจจะถูกกดดันให้ออกจากตลาดในยามที่ตลาดเต็มไปด้วยข่าวร้าย ไม่ว่าพวกเขาจะเฉลียวฉลาดปานใดก็ตาม
ผมคิดว่าคำพูดนี้เป็นจริงมากในชีวิตการลงทุนจริงๆ ปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าการหาความรู้ทางการลงทุนจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับนักลงทุนทั่วไป แต่สิ่งที่ยากก็คือ การควบคุมจิตใจไม่ได้ “สติแตก” ในเวลาที่หุ้นลง หลายคนซื้อหุ้นได้ในราคาไม่แพงแต่ก็ขายหุ้นเหล่านั้นออกไปในราคาขาดทุนหรือแทบไม่ได้กำไร เพราะหุ้นเหล่านี้ลงไปหลังจากที่เขาซื้อ แม้ว่าเขาจะมั่นใจในพื้นฐานหุ้นแค่ไหนก็ตาม แต่เขาคิดว่าถ้าหุ้นลงแสดงว่าเขาคิดผิดเพราะน่าจะมีคนที่รู้ดีกว่าตัวเขาอยู่ที่กำลังขายหุ้นตัวนั้น อย่ากระนั้นเลย ละทิ้งทุกสิ่งที่เขาคิดแล้วโยนขายหุ้นตามไปเลยดีกว่า น่าจะสบายใจดี ปรากฏว่าในอีกครึ่งปีต่อมาหุ้นตัวนั้นก็ขึ้นไปถึง 70% และกำไรของหุ้นก็ออกมาตามคาดเสียด้วย ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากเคยเจอเรื่องแบบนี้ และผมเองก็เคยมีประสบการณ์ที่ขมขื่นแบบนี้มาแล้วเหมือนกัน
ความเห็นของผมคือ แม้ว่าคุณเข้าใจในพื้นฐานหุ้นมากๆ แต่ถ้าคุณ สติแตกง่าย คุณก็มีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินอยู่ดี
(ปีเตอร์ลิน)
 ถ้าคุณอยากจะเป็นนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จจงขจัดความคิดเพ้อฝันออกไปจากหัวซะ ซึ่งความคิดพวกนั้นก็คือ ความคิดว่าคุณจะสามารถประสบความสำเร็จในการเก็งกำไรได้ตลอดเวลา ทุกวัน ทุกอาทิตย์ ลิเวอร์มอกล่าวว่า ผู้ที่หมกมุ่นกับการเก็งกำไรรายวันจะมองไม่เห็น trend ที่ใหญ่กว่านั้นและเมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มมีเทรนชัดๆ นักลงทุนเหล่านั้นจะไม่ได้ประโยชน์จากเทรนใหญ่เพราะเขาหมกมุ่นกับการหาประโยชน์รายวันมากเกินไป (ลิเวอร์มอ)
 ให้คิดซะว่าชีวิตนี้คุณซื้อหุ้นได้แค่ 20 ตัวก็พอ นั้นก็คือ ให้หวดต่อเมื่อเป็นวงสวิงที่ perfect เท่านั้น (buffet)
 ”ผมสอนลูกว่าต่อไปถ้าคุณออกมาทำธุรกิจ เป็นพนักงานธรรมดาก็ดีกว่า เพราะไม่ลำบากเท่าเรียนหนังสือ แต่ถ้าคุณจะเป็นผู้นำ คุณต้องเตรียมพร้อมเหมือนกับต้องสอบทุกวัน คุณต้องขยัน ถึงจะมีโอกาสเป็นผู้นำในธุรกิจ ไม่มีอะไรที่จะได้มาง่ายๆ ไม่เหมือนเราเรียนเก่ง ความจำเก่งสอบได้ที่ 1 แต่ต่อให้เรียนเก่งอย่างไร ถ้าออกมาอยู่ในโลกของธุรกิจแล้วคุณต้องทำ เพราะสิ่งที่คุณทำนั้นคือ “ซอฟต์แวร์” ของตัวเอง ซอฟต์แวร์คือความรู้ ประสบการณ์ ซอฟต์แวร์ของมนุษย์ ไม่มีใครช่วยคุณเขียนได้หรอก อย่างคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุด เราเอาคนเก่งเป็นหมื่นคนมาช่วยกันเขียนได้ แต่คอมพิวเตอร์ของมนุษย์ จ้างไม่ได้ เรียนก็ยังไม่ได้ ต้องไปสัมผัส ต้องไปผ่านหนาวผ่านร้อน เคยเสียหาย เพราะไม่มีใครที่ทำงานแล้วไม่ผิด เราต้องยอมรับ ทำมากผิดมาก ทำน้อยผิดน้อย ไม่ทำไม่ผิด ผมจะเลือกคนที่ทำผิด แล้วรู้จักผิด แต่เราไม่มีวันเลือกคนที่ไม่ทำแล้วไม่ผิด ไม่เช่นนั้นบริษัทจะเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร ” (ธนินท์ เจียรวนนท์)
 "ในเมื่อต้นไม้ไม่ได้โตภายในวันเดียว"
 "อย่ากลัวความสูญเสียระยะสั้น เพื่อรักษาเป้าหมายระยะยาว"
 ความเสี่ยงคือเพื่อนของเรา ดังนั้นห้ามที่จะไม่เคารพเพื่อนของเราเด็ดขาด
 เกมการเงิน เป็นเพียงส่วนนึงของเกมชีวิต เส้นชัย ของเกมชีวิต คือ ความตาย
 ไม่ต้องแข่งขันกันให้มากมาย เพราะสุดท้ายแล้ว "ความตาย" คือ สิ่งหนึ่งเดียวในโลกที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน
อย่าเป็นทุกข์กับสิ่งที่เสียไป แต่จงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่ คุณนี่โชคร้ายจริงๆ คำตอบ อาจจะใช่ หรือไม่ใช่ก็ได้
ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ตราบนั้นยังมีโอกาสเสมอ
ความยุติธรรมที่สุดในโลกใบนี้ คือ เรื่องเวลาในแต่ละวัน และความตาย -> ทุกคนมีเวลา 24ชม. เท่ากัน และทุกคนต้องตาย
 "อดีต เป็นคำตอบของ ปัจจุบัน" และ "ปัจจุบัน ก็เป็นตัวทำนาย อนาคต"
ชีวิตมนุษย์เรา ช่างสูญเปล่าไปกับการรอคอย
 แม้แต่นาฬิกายังมีวันหมดแรงเดิน แล้วมนุษย์อย่างเรา แรงกายแรงใจไม่มีหมดได้อย่างไร
1 2 3 4 5 6 กับ 1 2 4 8 16 32 (เปรียบมนุษย์เงินเดือน กับ นักลงทุนผู้ชาญฉลาด)
"To be in a game, You have to be willing to endure the pain"  (George Soros)
พรุ่งนี้ยังมี! คนเรามันต้องอยู่อย่างมีความหวัง และเชื่อมั่นในสิ่งที่เราได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว แล้วทำตามนั้น อย่าลังเล และโลเล
แสวงหา มิใช่รอคอย ดังนั้น ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
 เมื่อแสวงมากๆ ก็จะเจอสวรรค์
ถึงก้าวช้าหรือล้มลง แต่ไม่เคยยอมแพ้ถอยหลัง
เมื่ออยู่ในสนามรบ ... "ป้องกันตัวตลอดเวลา"
หากทารกมัวแต่กังวลว่าจะล้มจากการหัดเดิน คงไม่มีวันเดินได้ แต่ทำไมเมื่อโตขึ้นคนกลับกลัวล้ม "จงทำตัวให้เหมือนทารก"
ชีวิต คือ การเรียนรู้  "สุข"ก็เรียนรู้  "ทุกข์"ก็เรียนรู้  เดินไปเรื่อยๆ บนเส้นทางที่เลือกเอง
"เวลา" จะช่วยเยียวยาความปวดร้าวภายในจิตใจ (ไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม) ได้ดีที่สุด
ขอบคุณ"ความเจ็บปวด" เพราะนั่นหมายถึง ฉันยังมีความรู้สึกอยู่
The biggest risk is not to take the risk at all : ความเสี่ยงที่สุด คือ การไม่ลองเสี่ยงเลยสักครั้ง
ชีวิตคนเราจะต้องการอะไรมากมาย ขอแค่ได้อยู่กับคนที่เรารัก และเค้าคนนั้นก็รักเราด้วยใจจริง
เคล็ดลับความรวย อยู่ที่ การบริหารเงิน ไม่ใช่การหาเงิน
ไม่จำเป็นต้องจำว่า "เราเคยมีบุญคุณกับใคร" แต่จำเป็นต้องจำให้ได้ว่า "ใครที่เคยมีบุญคุณกับเรา
ตัวเรา ... อาจเป็นสินทรัพย์ที่ล้ำค่า หรืออาจเป็นหนี้สินอันมหาศาลก็ได้
วัยเด็ก มีแรง มีเวลา ไม่มีเงิน : วัยทำงาน มีเงิน มีแรง ไม่มีเวลา : วัยชรา มีเวลา มีเงิน ไม่มีแรง
เมื่อไม่ได้ยืนอยู่ใกล้ปากเหว คน...ไม่มีทางยอมเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงตัวเองง่ายๆ
มีแต่ได้กับได้ แพ้ก็ได้ ชนะก็ได้ นั่นคือ "ประสบการณ์"
“โอกาส” มีไว้สำหรับคนที่พร้อมเท่านั้น
"อย่าซื้อหุ้นโดยคิดแต่เพียงว่าหุ้นราคาถูก หรือขายเพราะคิดว่าหุ้นราคาแพง"(วิลเลี่ยม แกนน์)
 การที่จะประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้น ผู้ลงทุนจะต้องสามารถหาทางเอาชนะจุดอ่อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ลงทุนต้องผิดหวังในการลงทุน (วิลเลี่ยม แกนน์)
ความผิดพลาดสำคัญของนักเล่นหุ้น คือ ความโลภ หวังรวยในระยะสั้น (เจสสี ลิเวอร์มอร์)
 ขายส่วนที่ขาดทุน และเก็บส่วนที่กำไร(เจสสี ลิเวอร์มอร์)
ราคาหุ้นไม่เคยสูงเกินกว่าที่จะซื้อ หรือต่ำไปกว่าที่จะขาย"(เจสสี ลิเวอร์มอร์)
การพยายามซื้อถัวเฉลี่ย (Average down ) ในหุ้นที่ขาดทุนแล้ว ถือเป็นความผิดพลาดมหันต์ (เจสสี ลิเวอร์มอร์)
A speculator is a man who observes the future, and acts before it occurs. 
นักเก็งกำไรคือคนผู้ซึ่งสังเกตสิ่งที่จะเกิดในอนาคต แต่จัดการมันก่อนที่จะเกิดขึ้น 
(Bernard Baruch)
Millions saw the apple fall, but Newton was the one who asked why. 
คนนับล้านที่เคยเห็นแอปเปิลตก แต่นิวตันเป็นคนที่ถามว่า ทำไมจึงตก (Bernard Baruch)
ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน
น้ำลายไหล ดีกว่า น้ำตาตก
หุ้นคือความเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ใช่หวยไว้เสี่ยงโชค
"An investment operation is one which, upon thorough analysis promises safety of principal and an adequate return. Operations not meeting these requirements are speculative." 
"การลงทุนคือการปฎิบัติการที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วยแล้วจะสามารถเก็บรักษาเงินต้น
และสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอ การปฎิบัติการอื่นใดที่ไม่เข้าข่ายนี้ถือเป็นการเก็งกำไร"
(Benjamin Graham)
นักลงทุนทุกคน จะอยู่ในตลาดหุ้นได้ตลอดกาล
จะต้อง "บริหารความโลภให้สมดุลกับความรู้
ความสำเร็จทางการลงทุนไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางตรงกับจำนวนชั่วโมง
ในการทำงานหรือความเฉลียวฉลาดเลย (Warren Buffett)
นักเล่นหุ้นหลายๆคนมักทำลายระบบการลงทุนที่ดีของพวกเขาเอง 
โดยการที่พวกเขาพยายามทำให้มันเพียบพร้อมที่สุด


"คำเตือนความเสี่ยง: ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่นำเสนอโดย บริษัท ดำเนินการในระดับสูงของความเสี่ยงและอาจส่งผลในการสูญเสียของเงินทุนทั้งหมดของคุณคุณไม่ควรลงทุนเงินที่คุณไม่สามารถจะสูญเสีย.."

บทความที่ได้รับความนิยม